บทที่ 8
การประเมินอิงมาตรฐาน Standard
Based Assessment
S
: การประเมินอิงมาตรฐาน (Standard Based
Assessment)
การประเมินคุณภาพการเรียนรู้อิงมาตรฐานโดยใช้แนวคิดพื้นฐานโครงสร้างการสังเกตการเรียนรู้ (Structure of
Observed Learning Outcomes) รวมถึงมาตรฐานการประเมินคุณภาพภายในและการประเมินคุณภาพภายนอก
มาตรฐานมีความสำคัญอย่างยิ่งในชั้นเรียน มาตรฐานเป็นตัวกระตุ้นการสอนที่ประสบผลดีที่สุดสำหรับผู้สอนที่มีความสามารถสูงสุด
เมื่อผู้สอนมองการสอนเทียบกับมาตรฐานจะพบว่า การสอนตอบสนองต่อมาตรฐาน เพื่อความชัดเจนผู้สอนต้องตอบคำถามเรื่องการเรียนการสอนกับมาตรฐาน ดังนี้
ใครกำลังสอนมาตรฐานใด เพื่อตอบคำถามว่า ใครสอนมาตรฐานอะไร ไม่ใช่ใครสอนหัวข้อใด
ใครประเมินผลมาตรฐานใดบ้าง โดยวิธีใด เพื่อตอบคำถามว่า
ใครประเมินฐานใด โดยวิธีใด
การนำมาตรฐานมาใช้เพื่อกำหนดว่าเนื้อหาและทักษะใดสัมพันธ์กับมาตรฐานใด
แต่การเชื่อมโยงระหว่างเนื้อหาและทักษะกับมาตรฐานอาจไม่เพียงพอ ส่งผลให้มาตรฐานบางอย่างถูกละเลย
มาตรฐานใดบ้างที่จะนำมาใช้ในการสอนและการประเมิน
ช่วยตัดสินใจได้ว่าควรจะสอนและประเมินอะไรในระดับใดชั้นใด และวิชาใด โดยวิธีใด สามารถระบุได้ชัดเจนว่ามาตรฐานได้นำมาใช้สอนและประเมินผลในชั้นเรียน
แผนจัดการเรียนรู้นี้ดีที่สุดหรือไม่
ถ้าไม่จะต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลงในเรื่องใดบ้าง มีสิ่งใดบ้างที่ถูกมองข้ามไปหรือมีมากเกินไป
ผู้เรียนมีโอกาสเรียนรู้อย่างเพียงพอ และแสดงพฤติกรรมที่สอดคล้องกับมาตรฐานหรือไม่
มาตรฐานเป็นการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องต่อความคาดหวังเพื่อการเรียนรู้ของผู้เรียน
มาตรฐานจะทำให้เกิดโครงการสร้างซึ่งนำไปสร้างเป็นหลักสูตรท้องถิ่นที่สมบูรณ์แบบและลุ่มลึกได้
คือ
มาตรฐานใดบ้างที่มุ่งเน้นการเรียนรู้ของผู้เรียน
ผู้เรียนแต่ละคนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในทุกมาตรฐานหรือไม่
การประเมินผลและการนิเทศ
Carr, Judy F
and Harris, Douglas E. (2001 : 153) กล่าวโดยสรุป การพัฒนาวิชาชีพ การนิเทศและการประเมินผล มีจุดหมายเพื่อให้ผู้เรียนรู้ตามมาตรฐาน และได้นำสนอหลักการดำเนินการพัฒนาด้านวิชาชีพที่อิงมาตรฐาน 7
ประการดังนี้
หลักการที่ 1
ประสบการณ์การพัฒนาวิชาชีพที่มีประสิทธิภาพเกิดจากภาพลักษณ์ที่ดีด้านการเรียนการสอน
หลักการที่ 2
ประสบการณ์การพัฒนาวิชาชีพที่มีประสิทธิภาพให้โอกาสผู้สอนได้สร้างองค์ความรู้และทักษะของตน
หลักการที่ 3
ประสบการณ์การพัฒนาวิชาชีพที่มีประสิทธิภาพใช้หรือเป็นตัวแทนกลยุทธ์การสอนที่ผู้สอนจะใช้กับผู้เรียน
หลักการที่ 4
ประสบการณ์การพัฒนาวิชาชีพที่มีประสิทธิภาพสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ หลักการสำคัญของระบบที่เชื่อมโยงด้วยมาตรฐานสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้
หลักการที่ 5
ประสบการณ์การพัฒนาวิชาชีพที่มีประสิทธิภาพส่งเสริมครูให้มีบทบาทเป็นผู้นำ กล่าวคือ
ครูต้องมีภาวะความเป็นผู้นำในระบบที่เชื่อมโยงด้วยมาตรฐาน
หลักการที่ 6 ประสบการณ์การพัฒนาวิชาชีพที่มีประสิทธิภาพสร้างความเชื่อมโยงกับหน่วยการศึกษาอื่น การเชื่อมโยงด้วยมาตรฐาน คือ
วิธีการดำเนินงานที่เป็นระบบ
หลักการที่ 7
ประสบการณ์การพัฒนาวิชาชีพที่มีประสิทธิภาพต้องประเมินและพัฒนาอย่างต่อเนื่องในระบบที่เชื่อมโยงด้วยมาตรฐาน ความมีประสิทธิผลวัดได้จากพัฒนาการของนักเรียน
หลักสูตรมาตรฐานแห่งชาติสู่ชั้นเรียน (How
to Use Standards in
the Classroom )
การเชื่อมโยงมาตรฐานการเรียนรู้กับหลักสูตรเป็นสิ่งสำคัญ การเชื่อมโยงมาตรฐานการเรียนรู้ระดับชาติ มาตรฐานการเรียนรู้และท้องถิ่น ไปสู่เป้าหมายการเรียนการสอนของนักเรียนและครู Harris, Douglas E and Carr, Judy F (1996 : 18)
ได้นำเสนอแผนภูมิแสดงความสอดคล้องเชื่อมโยงของหลักสูตร การเรียนการสอน
และการประเมินแบบอิงมาตรฐานการเรียนรู้ไว้ดังภาพประกอบที่ 11
ภาพประกอบที่ 11
หลักสูตรมาตรฐานแห่งชาติสู่ชั้นเรียน
ที่มา Harris,
Douglas E and Carr, Judy F (1996)
หลักสูตรมาตรฐานแห่งชาติสู่ชั้นเรียน
จากแผนสรุปได้ว่า
กรอบหลักสูตรมลรัฐเชื่อมโยงและสะท้อนสิ่งที่พึ่งประสงค์ในมาตรฐานการเรียนรู้ระดับชาติ
หลักสูตรแลการประเมินระดับท้องถิ่นและโรงเรียน สะท้อนถึงมาตรฐานที่กำหนดในกรอบหลักสูตรมลรัฐ
กิจกรรมการเรียนการสอนและหน่วยการเรียน
เชื่อมโยงและสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้มลรัฐ หลักสูตรท้องถิ่นและหลักสูตรสถานศึกษา ในขณะเดียวกันก็ต้องสนองตอบความสนใจและความต้องการของนักเรียน
มาตรฐานสู่ความสำเร็จ : หลักสูตร การประเมินผล และแผนปฏิบัติ
เมื่อโรงเรียนหรือสถานศึกษาได้ใช้มาตรฐานใดแล้ว
ทุกคนทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องเข้าใจว่ามาตรฐานของโรงเรียนคืออะไร และจะนำไปใช้อย่างไร
คณะกรรมการสถานศึกษาจะต้องใช้แผนการประเมินเกี่ยวข้องกับขั้นตอนสำคัญ คือ
การประเมินสภาพปัจจุบันของหลักสูตร
การเรียนการสอน และการประเมินที่สอดคล้องกับมาตรฐาน และใครประเมินมาตรฐานใด โดยวิธีใด
เป็นต้น
กระบวนการพัฒนาหลักสูตรและแผนการประเมิน Carr, Judy
F and Harris,
Douglas E. (2001 :
45 - 49) เสนอคำถามที่เกี่ยวข้อง คือ
จะสร้างการประเมินระดับชั้นเรียนที่สอดคล้องกับมาตรฐานอย่างไร
ซึ่งการประเมินชั้นเรียนไม่ได้เป็นเพียงการทดสอบ การวัด หรือการให้คะแนน
แต่การประเมินเป็นบูรณาการของการสอน
การประกันคุณภาพการศึกษา
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
มาตรา 48 “ให้หน่วยงานต้นสังกัด และสถานศึกษาจัดให้ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาและให้ถือว่าการประกันคุณภาพภายใน
เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษาที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง”
การประกันคุณภาพสถานศึกษาเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนให้ได้มาตรฐานทั้งในระดับอุดมศึกษา และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งแนวคิดที่เกี่ยวข้องมีดังนี้
1.
การประกันคุณภาพเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน
(ASEAN Cooperation
Initiative in Quality Assurance)
การประกันคุณภาพการศึกษาเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการสร้างมาตรฐานและเสริมสร้างคุณภาพการศึกษาของหลักสูตร โยเฉพาะอย่างยิ่งระบบการประกันคุณภาพการศึกษาระดับในอาเซียน
(AUN
Quality Assurance - AUN -QA)
ที่ตระหนักถึงความสำคัญของประกันคุณภาพการศึกษาในการศึกษา
ให้แก่มหาวิทยาลัยในเครือข่าย AUN เครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน ( AUN Quality Assurance - AUN
-QA) เป็นกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาและสร้างมาตรฐานการอุดมศึกษาของมหาวิทยาลัยสมาชิกให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
การรับรองมาตรฐานระดับหลักสูตรจะเริ่มต้นจากความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
และนำมากำหนดไว้ในผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดว่าจะได้รับ ซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนหลักสูตรการรับรองมาตรฐานคุณภาพระดับหลักสูตร
ตามเกณฑ์ ASEAN University Network Quality Assurance : AUN-QA โดยเกณฑ์พิจารณา 11 หมวด ได้แก่
1. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังไว้
2. ข้อกำหนดหลักสูตร
3. โครงสร้างหลักสูตรและเนื้อหา
4. แนวทางการสอนและการเรียนรู้
5. การประเมินผลนักศึกษา
6. คุณภาพบุคลากรสายวิชาการ
7. คุณภาพบุคลากรสายสนับสนุน
8. คุณภาพของนักศึกษาและการสนับสนุน
9.
สิ่งอำนวยความสะดวกและโครงสร้างพื้นฐาน
10. การเพิ่มคุณภาพ
11. ผลผลิต
มหาวิทยาลัยในเครือข่าย AUN ได้มีการนำเกณฑ์ดังกล่าวมาใช้ในการประกันคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตร (AUN-QA Assessment)
โดยหลักสูตรที่มีความพร้อม
มหาวิทยาลัยจะยื่นขอรับรองโดย AUN-QA ต่อไป
ภาพประกอบที่
12
ความสัมพันธ์องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับ Learning outcome
ที่มา http://academic.swu.ac.th/Portals/43/105.pdf
2.การประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
สำนักทดสอบทางการศึกษา กรมการวิชาการ
กระทรวงศึกษาธิการ (2545)
ได้ศึกษาและพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จากผลการศึกษากระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศเป็นกฎหมายกระทรวง
กำหนด ระบบ หลักเกณฑ์
ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและเอกสารการดำเนินงานตามระบบดังกล่าว ได้แก่
1.
ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
2.
แนวทางการจัดทำระบบสารสนเทศสถานศึกษา
3.
แนวทางการบริหารจัดการคุณภาพสถานศึกษา
4. แนวทางการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
5.
แนวทางการตรวจสอบและทบทวนคุณภาพภายในของสถานศึกษา
6.
แนวทางการรายงานคุณภาพการศึกษาประจำปีของสถานศึกษา
7.
แนวทางการตรวจสอบและทบทวนคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา โดยเขตพื้นที่การศึกษา
ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
: กรอบและแนวการดำเนินงาน เขียนแสดงความสัมพันธ์ได้ดังภาพ ประกอบที่ 13
3.
การประเมินคุณภาพภายนอก
การประเมินคุณภาพภายนอก คือ
การประเมินคุณภาพการจัดการศึกษา
การติดตาม
การตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
ความสำคัญของการประเมินคุณภาพภายนอก
การประเมินคุณภาพภายนอก มีความสำคัญและมีความหมายต่อสถานศึกษา หน่อยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชน ดังต่อไปนี้
1.
เป็นการส่งเสริมให้สถานศึกษาพัฒนาเข้าสู่เกณฑ์มาตรฐาน
2. เพิ่มความมั่นใจ และคุ้มครองประโยชน์ให้ผู้รับบริการ
3. สถานศึกษาและหน่วยงานที่กำกับดูแล
4.
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับนโยบายมีข้อมูลสำคัญในภาพรวม
วัตถุประสงค์ของการประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษา
การประเมินคุณภาพภายนอก
มีวัตถุประสงค์ต่อไปนี้
1. เพื่อตรวจสอบ ยืนยันสภาพจริงในการดำเนินงานของสถานศึกษา
2. เพื่อให้ได้ข้อมูลซึ่งจะช่วยสะท้อนให้เห็นจุดเด่น
3. เพื่อช่วยแนะแนวทางปรับปรุง
4.
เพื่อส่งเสริมให้สถานศึกษามีการพัฒนาคุณภาพ
5. เพื่อรายงานผลการประเมินคุณภาพ
ผู้ประเมินภายนอก หมายถึงบุคคลหรือหน่วยงานที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนดและได้การรับรองจาก
สมศ.
มาตรฐานการศึกษา คือข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณภาพที่พึงประสงค์และเป็นเป้าหมายที่ต้องการให้เกิดขึ้นในสถานศึกษาทุกแห่ง
4. การประเมินคุณภาพภายใน
Clark (2005 : 2) กล่าวว่า การประเมินคุณภาพภายในโปรแกรมการเรียนการสอน (internal
evaluation) เป็นวิธีการประเมินที่นำไปใช้ในการตัดสินคุณค่าของโปรมแกรมการเรียนการสอนในระหว่างการดำเนินการ
การประเมินเน้นที่กระบวนการ (process)
การประเมินคุณภาพภายในมีจุดมุ่งหมายเพื่อตรวจสอบแก้ไขและปรับปรุงสื่อการเรียนการสอน
เพื่อให้เกิดประสิทธิผลยิ่งขึ้นเมื่อนำไปใช้กับผู้เรียนโดยทั่วไป
ในการประเมินจะเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ที่เกี่ยวข้องทุกคน
การประเมินนี้จึงมีบทบาทสำคัญของการจัดการเรียนการสอน เคมพ์ (Kemp : 1971) เสนอแนะการประเมินไว้ ดังนี้
1.
ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ในระดับที่เป็นที่ยอมรับตามจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้หรือไม่
ผู้เรียนมีข้อบกพร่องใดบ้าง
2. ผู้เรียนมีความสามารถในการใช้ความรู้ หรือทักษะในระดับที่เป็นที่ยอมรับหรือไม่
3. ผู้เรียนใช้เวลานานเพียงใด
เพื่อให้เกิดประสบการณ์การเรียนรู้
4. กิจกรรมต่าง ๆ
เหมาะสมสำหรับผู้เรียนและผู้สอนหรือไม่
5. วัสดุต่าง ๆ
สะดวกและง่ายต่อการติดตั้ง การหยิบ การใช้ หรือการเก็บรักษาหรือไม่
6.
ผู้เรียนมีปฏิกิริยาต่อวิธีการเรียนการสอน กิจกรรม วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้
และวิธีการประเมินผลอย่างไรบ้าง
7. ข้อสอบเพื่อประเมินตนเอง
ใช้วัดจุดมุ่งหมายของการเรียนการสอนได้หรือไม่
8.
ควรมีการปรับปรุงแก้ไขโปรมแกรมในส่วนใดบ้าง (เนื้อหา รูปแบบ และอื่น ๆ)
การประเมินภายนอก
1. จุดมุ่งหมายทั้งหมด
ได้รับการบรรลุในระดับใดบ้าง
2. หลักจากการเรียนการสอนผ่านไปแล้ว
การปฏิบัติงานผู้เรียนเกี่ยวกับการใช้ความรู้ ทักษะ
และการสร้างเจตคติมีความเหมาะสมหรือไม่
3. การใช้วัสดุต่าง ๆ
ง่านต่อการจัดการสำหรับผู้เรียนจำนวนมาก ๆ หรือไม่
4. สิ่งอำนวยความสะดวก กำหนดการ
และการนิเทศ มีความเหมาะสมกับโปรมแกรมหรือไม่
5. มีการระวังรักษาการหยิบ
การใช้เครื่องมือวัสดุต่าง ๆ หรือไม่
6. วัสดุต่าง ๆ ที่เคยใช้แล้ว
ถูกนำมาใช้อีกหรือไม่
7.
ผู้เรียนมีเจตคติอย่างไรบ้างต่อวิชาที่เรียน
การกำหนดระดับคุณภาพผลการเรียนรู้
The SOLO taxonomy
The SOLO taxonomy
เป็นการจัดระดับเพื่อประโยชน์ในการแสดงคุณสมบัติเฉพาะในระดับต่าง ๆ กันของคำถาม
และคำตอบที่คาดว่าจะได้รับจากผู้เรียน
เป็นชุดของเกณฑ์การประเมินผลการเรียนที่เป็นระบบที่นำมาช่วยอธิบายว่า ผู้เรียนมีพัฒนาการปฏิบัติที่ซับซ้อนอย่างไร
ในการเรียนเพื่อรอบรู้ที่มีความหลากหลายของภาระงานทางวิชาการ
โดยที่นิยมจุดประสงค์ของหลักสูตร ในสภาพที่พึงประสงค์ของการปฏิบัติ
เพื่อประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคนที่ปฏิบัติได้จริง
การใช้ SOLO Taxonomy ในการกำหนดระดับคุณภาพผลการเรียนรู้
จะช่วยให้ทั้งครูและผู้เรียนตระหนักถึงองค์ประกอบที่หลากหลายจากหลักสูตรได้อย่างแจ่มชัดขึ้น
แนวคิดดังกล่าวถูกนำไปกำหนดเป็นนโยบายใช้ในการประเมินในมหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษาหลายแห่ง
สืบเนื่องจากสามารถนำไปใช้ได้ในหลายสาขา
การประเมินความสามรถในการปฏิบัติของผู้เรียนอยู่บนพื้นฐานของการพัฒนาผู้เรียนในแง่ของความเข้าใจที่ซับซ้อน
ซึ่งความเข้าใจดังกล่าวแบ่งได้เป็น 5 ระดับ (1) ระดับโครงสร้างขั้นพื้นฐาน (Pre-structural) (2) ระดับโครงสร้างเดี่ยว (Uni-structural) (3)
ระดับโครงสร้างหลากหลาย (Multi- structural) (4)
ระดับความสัมพันธ์ของโครงสร้าง (Relational Level) และ (5)
ระดับแสดงความต่อเนื่องในโครงสร้างภาคขยาย (Extended Abstract Level)
ประเด็นสำคัญที่พึงระมัดระวังในการใช้
SOLO Taxonomy
การปรับใช้ SOLO Taxonomy กับแนวคิดการสรรค์สร้างองค์ความรู้
ต้องนึกอยู่เสมอว่าปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการสอนและการเรียนรู้มีอยู่มากมาย อาทิ
ในการสอนครูสอนมีวิธีการสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้อย่างไร
ครูสอนต้องมีความรู้เกี่ยวกับแรงจูงใจในการเรียนรู้ของผู้เรียน
ในการเรียนรู้ผู้เรียนมีความสามารถในการเรียนรู้มากน้อยเพียงใด
จะต้องมีสิ่งสนับสนุนอะไรจึงจะช่วยให้ผู้เรียนบรรลุผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรู้
การกำหนดระดับคุณภาพของสมรรถนะนี้เป็นการให้ความสำคัญที่การเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคนตามความสามารถ
(แทน “สิ่งที่ครูมักระบุว่านักเรียนคนนั้น
คนนี้ เก่ง / ไม่เก่ง หรือ ดี / ไม่ดี”)
และการสร้างแรงจูงใจให้ผู้เรียนเพื่อจะนำไปสู่การเรียนรู้ที่ดี
การปฏิบัติตามแนวคิดดังกล่าวนี้
สรุปได้ว่า
· ทำให้ ILO ชัดเจนยิ่งขึ้น
(ความมุ่งมั่น/เจตนา (Intended) การเรียนรู้ (Learning
)ผลผลิต(Outcomes)
· การทดสอบสมรรถ → ILO’ s → การสอน
ครูผู้สอนต้องบอกกระบวนการ ILO ในการบรรลุผลการเรียนรู้
ให้นักเรียนได้รับทราบด้วย
SOLO Taxonomy มีเหมาะสมดีที่นำมาใช้ในการให้เหตุผลในการกำหนดสมรรถนะในหลักสูตรและรายวิชาต่าง
ๆ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
การกำหนดระดับคุณภาพของสมรรถนะตามแนวคิด SOLO Taxonomy การเรียนรู้อย่างลุ่มลึกไม่ใช้เรียนแบบผิวเผิน
SOLO 4 : การพูดอภิปราย สร้างทฤษฎี ทำนายหรือพยากรณ์
SOLO 3 : อธิบาย วิเคราะห์
เปรียบเทียบ
SOLO 2 : บรรยาย รวมกัน
จัดลำดับ
SOLO 1 : ท่องจำ ระบุ
คำนวณ
บทบาทของการสอบ
“การสอบไม่ใช่สิ่งที่ตามมาแต่ต้องคิดไว้ก่อน” แนวคิดสำคัญในการพัฒนาหลักสูตรเมื่อต้องการทดสอบสมรรถนะหรือผลผลิตของการสอน นักพัฒนาหลักสูตรจะต้องมีความรู้ต่อไปนี้
ทฤษฎีการวางแผน (ตลอดโปรแกรมของหลักสูตร)
ทฤษฎีเกี่ยวกับแรงจูงใจ (และสิ่งที่กระตุ้นแรงจูงใจ)
ทั้งนี้เพื่อปรับเปลี่ยนแนวคิด “การสอบคล้ายกับ” การเปลี่ยนจากความชั่วร้าย เป็นการสร้างแรงจูงใจ (motivation) และแนวทางในการเรียนรู้ (learning guiding)
ที่เป็นเครื่องมือในการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอน
การจัดลำดับขั้นตอนของจุดประสงค์การเรียนรู้ของบลูม
(Bloom Taxonomy 1956)
เมื่อนำมาสัมพันธ์กับแนวคิด (SOLO Taxonomy ของ Biggs & Collis 1982)
SOLO 1 และ 2
สอดคล้องกับแนวคิดของบลูม ในขั้นความรู้
(จำ) ความเข้าใจ และการนำไปใช้ข้อมูลเชิงปริมาณ
SOLO 3 และ 4
สอดคล้องกับแนวคิดของบลูม
ในขั้นการวิเคราะห์
สังเคราะห์และประเมินค่าข้อมูลเชิงคุณภาพ
สรุป
การประเมินอิงมาตรฐานระดับที่มีความสำคัญที่สุดคือ
การจัดการเรียนรู้หรือการเรียนการสอนนั้นประสบผลสำเร็จ โดยดูจากผู้เรียนมีความรู้ และทักษะเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้
กล่าวได้ว่าโปภรแกรมการเรียนการสอนมีประสิทธิผลระดับใด
อีกประเด็นหนึ่งคือการจัดการเรียนการสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนหรือการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพระดับใด การประเมินคุณภาพภายใน เป็นการประเมินให้ความสำคัญที่กระบวนการ (process) การประเมินคุณภาพภายในเป็นการประเมินในระหว่างจัดการเรียนรู้หรือการเรียนการสอนมีจุดมุ่งหมายเพื่อตรวจสอบปรับปรุงแก้ไขสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้และการปรับปรุงสื่อนวัตกรรมการเรียนการสอน ส่วนการประเมินคุณภาพภายนอก เป็นการประเมินที่มุ่งตอบคำถามว่า การจัดการเรียนการสอนประสบความสำเร็จตามแผนที่วางไว้หรือไม่
ผู้เรียนมีคุณลักษณะตามที่หลักสูตรกำหนดไว้หรือไม่ คำถามหลัก
คือ
ผู้เรียนสามารถปฏิบัติงานหลังจากการเรียนการสอนได้หรือไม่ กระบวนการมีขั้นตอนใดที่มีปัญหาอุปสรรค
เพื่อนำไปเป็นข้อมูลสำคัญสำหรับผู้บริหารได้พัฒนาในโอกาสต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น