วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

บทที่ 5 การเรียนรู้จากสื่อดิจิทัล

                                        


บทที่ 5 การเรียนรู้จากสื่อดิจิทัล (Digital Learning)

D:การเรียนรู้จากสื่อดิจิทัล (Digital Learning) การเรียนรู้จากสื่อดิจิทัล เป็นการเรียนรู้ผ่านเครือข่าย เช่น เครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social networking) การแชร์ภาพ และการใช้อินเทอร์เน็ตแบบเคลื่อนที่ เป็นต้น การเรียนรู้จากสื่อดิจิทัลมีนัยมากกว่าการรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ แต่ยังครอบคลุมถึงประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับเนื้อหา(Content) จริยธรรม ละการสะท้อน (Reflection) ซึ่งฝังอยู่ในการเรียนรู้ การทำงานและชีวิตประจำวัน

          พระธรรมปิฎก (..ปยุตโต 2546 : 9-10) กล่าวว่า สังคมข่าวสารข้อมูลหรือสังคมสารสนเทศโลกมีข่าวสารข้อมูลแพร่กระจายกว้างขวางทั่วถึงรวดเร็วมาก ก็คิดว่าคนจะฉลาด คนจะมีปัญญา หากว่าไม่พัฒนาคนให้รู้จักรับและใช้ข้อมูลนั้น และกล่าวสรุปไว้ว่าจำแนกคนได้เป็นสามประเภท ดังนี้
          1.คนที่ตกเป็นเหยื่อ ในกรณีที่คนไม่พัฒนาสติปัญญาอย่างถูกต้องให้สามารถเข้าถึงข้อมูลอย่างแท้จริง และสามารถถือเอาประโยชน์จากข่าวสารข้อมูลได้ก็จะเป็นโทษอย่างมาก ข่าวสารข้อมูลจะกลายเป็นเครื่องมือล่อเร้าและหลอกลวงทำให้คนเป็นเหยื่อ
2.กลุ่มที่รู้เท่าทัน คนจำนวนมากมีความภาคภูมิใจว่าตนตามทันข่าวสารข้อมูล มีข่าวสารข้อมูลอะไรออกมาก็ตามทันหมด ปรากฏว่าตามทันทั้งนั้น แต่ไม่รู้เท่าทัน และก็ถูกกระแสข่าวสารข้อมูลท่วมทับ พัดพาไป กรณีเช่นนี้ถ้ามีปัญญารู้เท่าทันก็จะทำให้ดำรงอยู่ท่ามกลางกระแสได้ เป็นผู้ที่ยืนหยัดตั้งหลักอยู่ได้
3.กลุ่มที่อยู่เหนือกระแส การรู้เท่าทันยังไม่พอ ควรที่จะสามารถทำได้ดีกว่านั้นอีก คือขึ้นไปอยู่เหนือกระแส เป็นผู้ที่สามารถนำเอาข้อมูลข่าวสารมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างแท้จริง คนกลุ่มนี้สามารถจัดการกับกระแส โดยทำการเปลี่ยนแปลงในกระแสหรือนำกระแสให้เดินไปในทิศทางใหม่ที่ถูกต้อง
ศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกล สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ (http://WWW.dlthailand.com/thima-khxng-khorngkar) อ้างอิงองงานวิจัยของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทยว่าสาเหตุหลักส่วนหนึ่ง ของปัญหาคุณภาพการศึกษาไทย คือการที่ระบบการศึกษาของไทยในปัจจุบันเป็นระบบที่ไม่เอื้อต่อการสร้างความรับผิดชอบ (Accountability) หลักสูตรและตำราเรียนของไทยไม่สอดคล้องกับ การพัฒนาทักษะแห่ง ศตวรรษที่ 21

 (21 st Century Skills ) ซึ่งมีผลทำให้การเรียนการสอน ตลอดไปจนถึงการทดสอบยังคงเน้น การจดจำเนื้อหามากกว่าการเรียนเพื่อให้ มีความรู้ความเข้าใจอย่างแท้จริง อีกทั้งสภาพการจัดการศึกษาของ ประเทศไทยในปัจจุบัน กำลังประสบปัญหาในด้านคุณภาพของนักเรียน ปรากฏอยู่ในหลายพื้นที่ ซึ่งมีสาเหตุจาก การขาดครูหรือครูไม่ควบชั้น ไม่ครบสาระการเรียนรู้ ครูมีประสบการณ์หรือทักษะการเรียนรู้น้อย ขาดสื่อ อุปกรณ์ที่ทันสมัยและการเข้าถึงได้ลำบาก ครูมีเวลาในการจัดการเรียนการสอนน้อย กิจกกรมของโรงเรียนมีมาก ทรัพยากรที่มีกระจัดกระจายไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่า และการแก้ปัญหาต่างๆก็ทำได้ในวงจำกัด
กระทรวงศึกษาธิการได้จัดทำ โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมีกิจกรรมหลัก คือการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกล โดยแบ่งเป็น 2 กิจกรรมย่อย คือ การพัฒนาคุณภาพการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) และการพัฒนาคุณภาพการศึกษาทางไกล ผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ (DLIT) การพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยเทคโนโลยีทางไกล (Distance Learning) เป็นการจัดการศึกษาที่ใช้เทคโนโลยี ในการจัดการเรียนการสอนในทุกห้องเรียนแก้ปัญหา การขาดแคลนครูในโรงเรียนขนาดเล็กครูสามารถจัดการเรียนรู้ในทุกสาระได้อย่างมีประสิทธิภาพนักเรียนและครูได้เข้าถึงสื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัยนักเรียนและครูมีเครือข่ายในการแลกเปลี่ยนความรู้และทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาการนำเทคโนโลยีการศึกษาทางไกล (Distance Learning) มายกระดับคุณภาพการศึกษาเป็น 2 รูปแบบได้แก่การจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมและการจัดการศึกษาทางไกลผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ (Distance Learning viainformation Techology : DLIT) มาดำเนินงานโดยเร่งด่วนเพื่อแก้ปัญหาคุณภาพทางการศึกษาโดยมีการจัดสภาพและการสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนของครูอย่างครบถ้วนทั้งกระบวนการออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นกระบวนการสร้างความรู้การลงมือปฏิบัติเนื้อหาตลอดจนสื่อและอุปกรณ์ที่จำเป็นในการจัดการเรียนการสอนอันจะเป็นการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาลดช่องว่างและเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพให้กับประชาชนไทยทุกคนอันเป็นการดำเนินการตามรอยเบื้องพระยุคลบาทและสนองพระราชดำริในการที่จะพัฒนาการศึกษาไทยให้เจริญก้าวหน้า

เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ

เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ (การศึกษาจะถูกเปลี่ยนในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล บทความไอที 24 ชั่วโมงวันที่ 25 พฤศจิกายน  2016)  ได้เสนอบทความเรื่องการศึกษาจะถูกเปลี่ยนในยุคเศรษฐกิจดิจิทัลสรุปความว่าเทคโนโลยีที่โดดเด่นที่กำลังทำให้สิ่งของทุกสรรพสิ่งบนโลกสามารถเชื่อมต่อกันได้นั้นคือ internet of Everything (IoE) IoE สภาพแวดล้อมแห่งการเรียนรู้ที่มีการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนและผู้สอนมากกว่าในอดีตที่ผ่านมาเช่นนักศึกษาที่อาศัยอยู่ในลอนดอนสามารถร่วมรับฟังการบรรยายจากสถาบันการศึกษาในสหรัฐอเมริกาได้โดยอาศัยอุปกรณ์สื่อสารที่ทำให้ระยะทางไม่เป็นอุปสรรคในการเรียนโดยข้อมูลการเรียนรู้และข้อมูลทั้งหมดจะต้องให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงข้อมูลทั้งหมดให้ตลอดเวลาข้อมูลในสื่อการสอนต่างๆที่มีอยู่จะถูกนำมาใช้ร่วมกันในรูปแบบใหม่ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่จะส่งผลกระทบต่อวิธีการและสถานที่ที่ใช้ในการเรียนรู้ดังนั้นผู้เรียนจะต้องเปลี่ยนแปลงในสิ่งที่ต้องการเรียนรู้เศรษฐกิจที่เฟื่องฟูทำให้IoE มีความจำเป็นมากกว่าทักษะและจำนวนของผู้เชี่ยวชาญอีกทั้งการเชื่อมต่อที่เกิดขึ้นโดย IoE จะทำให้สามารถนำมาใช้ประเมินประสิทธิภาพของผู้เรียนสามารถออกแบบแบบฝึกหัดทดสอบเพื่อทดสอบจุดอ่อนและจุดแข็งของผู้เรียนและผู้เรียนสามารถประเมินศักยภาพได้ด้วยตนเอง นอกจากนี้ IoE อยากสามารถเปลี่ยนวิธีการเรียนรู้ของผู้ที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสติปัญญาเช่นในประเทศออสเตรเลียนำเทคโนโลยีเซ็นเซอร์ไปใช้ในโรงเรียนสอนผู้ที่มีความบกพร่องทางร่างกายโดยเซ็นเซอร์จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงวิธีการเรียนรู้ภาษามือของผู้เรียนและใช้ในการปรับปรุงการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนสมาธิสั้นด้วยการตรวจเช็คการทำงานของสมองและการให้รางวัลสำหรับผู้เรียนที่มีพัฒนาการเรียนที่ดีขึ้น
คณะกรรมการอิสระการศึกษา( กอปศ สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษาข่าวประชาสัมพันธ์วันที่ 4 พฤษภาคม 2561) ได้นำเสนอ Digital Learning Platformแนวทางการจัดการเรียนการสอนผ่านระบบออนไลน์และการใช้สื่อดิจิทัล เพื่อการปฏิรูปการศึกษา ณ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาสรุปในเรื่องของการศึกษาสิ่งแรกที่ต้องกระทำคือปรับกระบวนทัศน์ (Paradigm) ให้ชัดเจนชัยชนะเกิดขึ้นได้อยู่ที่ Big Data ซึ่ง Big Data  ในที่นี้ความหมายที่ถูกต้องคือข้อมูลที่เอามาวิเคราะห์ได้เอาไปใช้ประโยชน์ในการบริหารได้โดยสะดวกไม่ใช่หมายถึงข้อมูลจากคอมพิวเตอร์แม่ข่าย  Big Data จิตวิทยาในการจัดการศึกษาเป็นสิ่งที่ละเลยไม่ได้ ต้องออกแบบในสิ่งที่ผู้เรียนอยากเรียนไม่ใช่ออกแบบอย่างที่เราต้องการต้องสร้างความเข้มแข็งจากภายในเพราะที่ผ่านมาไม่ค่อยให้ความสนใจกับผู้ใช้ (User) และผู้เรียน (Learner)
กระทรวงศึกษาธิการต้องสร้างโจทย์และผู้เรียนอยากรู้อะไรที่ไม่เคยรู้และไม่เคยคิดว่าจะมีทางทำได้ประเทศไทยกำลังเข้าสู่การเปลี่ยนฐานสำคัญ 5 ด้านได้แก่
          1 Digital  Infrastructure การวางระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมได้ดำเนินการโครงการเน็ตประชารัฐเข้าถึงพื้นที่ระดับชุมชน
          2 คนกับดิจิทัล ต้องมีการฆ่าคนในระดับต่างๆการศึกษาต้องจัดคู่กับความต้องการของด้านแรงงานให้เหมาะสมและมีความต้องการคนทำงานที่มีคุณสมบัติอย่างไรและด้านใดบ้างเพราะจะเห็นได้ว่าในบางธุรกิจเช่นธุรกิจธนาคารหรืออุตสาหกรรมคนเริ่มถูก AI เข้ามาแทนที่
          3 Big Data ในภาครัฐต้องมีการบูรณาการ ข้อมูลระหว่างกันเพื่อนำมาวิเคราะห์ออกแบบและวางแผนด้านการเชื่อมโยงข้อมูลการผลิตกำลังคนในระบบการศึกษาตอบโจทย์ความต้องการแรงงานในภาคอุตสาหกรรมเป็นต้น
          4 Cyber Security ต้องให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของระบบสารสนเทศ
          5 internet of things( IoT) มหาวิทยาลัยต้องเร่งพัฒนาเทคโนโลยี iot อย่างเร่งด่วน
อติพร เกิดเรือง (2560) ได้เสนอผลการศึกษาเรื่องการส่งเสริมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เพื่อรองรับสังคมไทยในยุคดิจิทัล (วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง 173 - 184 ) สรุปดังนี้
1 การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เพื่อรองรับสังคมในยุคดิจิทัลมี 4 องค์ประกอบหลักคือ
1.1 การเรียนรู้เกี่ยวกับดิจิทัล
1.2 การคิดสร้างสรรค์
1.3 การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ
1.4 ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูง

2 การเรียนรู้จากจุดเดิมสู่ยุคดิจิทัลต้องจัดการเรียนรู้ที่คำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างการเรียนการทำงานและการดำรงชีวิตเน้นการจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตส่งเสริมการค้นคว้าด้วยตนเองโดยนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการจัดการเรียนรู้ให้มากที่สุด ผู้สอนเป็นผู้ชี้แนะแนวทางในการเรียนรู้ตามหลักสูตรและการวัดผลประเมินผลพัฒนาการมากกว่าการวัดผลสัมฤทธิ์
 3 การจัดการศึกษาในยุคดิจิทัลต้องคำนึงถึงการปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงเป็นการสร้างสรรค์ปรับแต่งการเรียนรู้การคิดเชิงวิพากษ์และการแก้ปัญหาที่ซับซ้อนเป็นการใช้เครือข่ายออนไลน์ การจัดการเรียนรู้สร้างสถานการณ์จำลองให้ผู้เรียนพบประสบการณ์จริงเนื้อหาการเรียนรู้ควรมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านเครือข่ายออนไลน์สามารถสร้างองค์ความรู้แบ่งปันความรู้และเนื้อหาสารเครือข่ายออนไลน์และส่งเสริมความรู้ในเรื่องของการทำงานมากขึ้น
การเลือกและพัฒนาสื่อการเรียนการสอน
          คำว่าสื่อมีความหมายกว้างมากการเรียนการสอนในบางครั้งอาจเกิดขึ้นจากเสียงของผู้สอนตำราเทป วีดิทัศน์ ภาพยนตร์ และคอมพิวเตอร์ media มาจากภาษาละติน หมายถึงบางสิ่งบางอย่างที่อยู่ตรงกลาง (Intermediate หรือ middel) หรือเครื่องมือ (instrument) โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นวิธีการของการสื่อสารที่ส่งไปถึงประชาชนเป็นพาหนะของการโฆษณาดังนั้นเมื่อพิจารณาในด้านของการสื่อสารแล้ว 4 จึงหมายถึงสิ่งที่เป็นพาหนะนำความรู้หรือสารสนเทศจากแหล่งกำเนิดไปสู่ผู้รับเช่นวิทยุโทรทัศน์ภาพยนตร์รูปภาพวัสดุฉายสิ่งพิมพ์และสิ่งดังกล่าวนี้เพื่อนำมาใช้กับการเรียนการสอนเราเรียกว่าสื่อการเรียนการสอน
          กลวิธีการสอนและการตัดสินใจเลือกซื้อเป็นความสัมพันธ์ระหว่างกันและควรจะทำไปพร้อมกันหลังจากที่ได้มีการกำหนดจุดหมายและวิเคราะห์ภาระงานแล้วแบบจำลองในการเลือกสื่อมีทั้งแบบที่มีความเรียบง่ายและแบบที่มีความซับซ้อน ผู้ซึ่งเป็นนักออกแบบการสอน เพื่อการค้าที่ประสบความสำเร็จ ได้กล่าวว่า กระดาษเป็นตัวกลางอย่างหนึ่งของการเลือกนอกจากว่าในกรณีที่ดีที่จะสามารถเลือกใช้สิ่งที่ทำจากอย่างอื่นวัสดุที่เป็นกระดาษมีราคาแพงในการออกแบบและผลิตในที่จะผลิตเพิ่มใช้ง่ายและนักเรียนส่วนใหญ่มีความเข้าใจสิ่งที่เป็นตัวอย่างของแบบจำลองง่ายๆสำหรับการเลือกเศษส่วนแบบจำลองที่ซับซ้อนด้วยวิธีการที่ส่วนใหญ่ควรจะหลีกเลี่ยงเท่าที่จะเป็นไปได้เมื่อเปรียบเทียบกับหลักเกณฑ์ของทหารก็คืออย่าโง่เลยทำให้ดูง่ายๆเถอะ (KISS : Keep It Simple , stupid)
          การนำเสนอสื่อการเรียนการสอน การกระตุ้นทางการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ง่ายแก่การเข้าใจสื่อที่ซับซ้อนมีแนวโน้มของการสิ้นเปลืองเวลาและค่าใช้จ่ายสูงได้บ่อยครั้งพิสูจน์ได้ว่ามีประสิทธิภาพและเชื่อถือไม่ได้ที่ถูกที่สุดที่ทำให้ผู้เรียนรู้จุดประสงค์ตามเจตนารมณ์ภายในระยะเวลาที่สมควรอย่างไรก็ตามข้อความจำคือการสื่อราคาย่อมเยาว์ที่ผลิตไม่ดีทำให้การเรียนการสอนไม่มีประสิทธิภาพเช่นเดียวกับการใช้สื่อที่ซับซ้อนดังกล่าวแล้วเช่นกัน
          การพัฒนาสื่อการเรียนการสอนเป็นเรื่องสำคัญอีกประการหนึ่งในกระบวนการออกแบบการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบและออกแบบการเรียนการสอนต้องตัดสินใจเกี่ยวกับการเลือกวิธีการสื่อวิธีการเลือกวัสดุอุปกรณ์ระบบประโยชน์ของวัสดุอุปกรณ์ทางการค้าริเริ่มในเฝ้าระวัง
ผู้ออกแบบการเรียนการสอนต้องตัดสินใจว่าใครจะเป็นผู้ผลิตสื่อที่ในการผลิตควรจะประกอบไปด้วยใครบ้างผู้ออกแบบต้องริเริ่มเฝ้าระวังติดตามกระบวนการผลิตเป็นความรับผิดชอบของผู้ออกแบบที่จะต้องมีความแน่ใจในบูรณาการภาพของการออกแบบและคุณภาพของวัสดุอุปกรณ์ด้วยการเฝ้าระวังติดตามการผลิต
          ประเภทของสื่อ
สื่อสามารถจำแนกได้ 4 ประเภทคือ (audio) ทางตา (visual) ทางหูและทางตารวมกันและสัมผัสผู้ออกแบบสามารถเลือกสีที่เหมาะสมที่สุดจากประเภทของสื่อต่างๆสำหรับภาระงานการเรียนการสอนที่มีความเฉพาะเจาะจงสื่อต่างๆทั้ง 4  ประเภทและตัวอย่างที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้
           1 สื่อทางหูได้แก่เสียงของผู้ฝึกปฏิบัติการทางเสียงการเตรียมผู้แผ่นเสียงวิทยุกระจายเสียง
           2 สื่อทางตาได้แก่กระดานชอล์คกระดานแม่เหล็กกราฟคอมพิวเตอร์วัสดุต่างๆที่เป็นของจริงรูปภาพแผนภูมิกราฟภาพถ่ายจำลองสิ่งที่แจกให้ฟิล์มสไลด์แผ่นใส
           3 และทางใต้ได้แก่เทปวิดีโอทีวีวงจรปิดโปรแกรมโสตทัศน์วัสดุ สไลด์เทปภาพยนตร์เสียงในฟิล์มทีวีทั่วไปเทคโนโลยีอื่นๆเช่นดิจิทัล วิดีโอ อินเตอร์แอคทิฟเทคโนโลยี (digital video interactive technology)
           4 สื่ิอทางสัมผัส ได้แก่วัสดุของจริงแบบทดลองในการทำงานเช่นผู้แสดงสถานการณ์จำลอง
ข้อดีและข้อเสียของสื่อบางประเภท
ในการเลือกสื่อที่มีความเหมาะสมที่สุดสำหรับภาระงานการเรียนรู้ที่มีความเฉพาะเจาะจงผู้ออกแบบจำเป็นต้องรู้ถึงความจำเป็นในข้อดีและข้อเสียที่เกี่ยวข้องกับสื่อแต่ละประเภทตารางที่ 16จะแสดงให้เห็นถึงข้อดีและข้อเสียของตัวอย่างสื่อ 4 ประเภท ตารางที่ 17แสดงประเภทและคุณสมบัติของสื่อการเรียนการสอน
           การตัดสินใจเกี่ยวกับวิธีการและสื่อ
          การตัดสินใจเกี่ยวกับวิธีการและสีบางครั้งเกิดขึ้นพร้อมกันในบางเวลาจะเลือกวิธีการและเลือกสื่อที่จำเป็นในการใช้ทีหลัง ดูแกน เลียด (Dugan laird :180)เปรียบเทียบวิธีการว่าเป็นถนนทางหลวง (Highway) ที่นำไปสู่จุดหมายปลายทาง(จุดประสงค์)และสื่อ(วัสดุฝึก)เป็นสิ่งที่เพิ่มเติมบนทางหลวงเช่นสัญญาณแผนที่ซึ่งทำให้เกิดการเดินทางที่สะดวกขึ้น
          วิธีการเป็นกลยุทธ์การเรียนการสอนที่มีระดับความเฉพาะมากเป็นที่การเรียนการสอนที่ตัดสินธรรมชาติของบทเรียน joyce and weil (1980) เรียกสิ่ง เรียกว่าแบบจำลองการสอน (Model of  teaching ) แม่สลองเป็นวิธีการสร้างประสบการณ์การเรียนรู้และระดับบทเรียนมากกว่าที่จะเป็นระดับหน่วยในหลักสูตร
ตารางที่ 16 ข้อดีและข้อเสียของสื่อบางชนิด

         








 ตารางที่ 17  ประเภทและคุณสมบัติของสื่อการเรียนการสอน













การตัดสินใจเกี่ยวกับสื่อ
          สื่อเป็นพิธีการซึ่งมีการนำเสนอสารสนเทศและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ในขณะที่ 4 เป็นคำที่ใช้อ้างอิงแบบของการเรียนการสอนจึงเป็นความจำเป็นที่ต้องมีวัสดุอุปกรณ์ที่ส่งเสริมการเรียนการสอนนั้นในทางตรรกะและเป็นความจำเป็นทั้งส่วนที่เป็นอุปกรณ์และส่วนที่เป็นวัสดุสำหรับการเรียนรู้ที่อาศัยคอมพิวเตอร์พื้นฐานเช่นเดียวกันกับสื่อโทรทัศน์อาศัยโปรแกรมเป็นฐาน
          การตัดสินใจเกี่ยวกับสื่อสามารถทำตามหลัง หรือทำไปพร้อมกันกับการตกลงใจเกี่ยวกับวิธีการโดยทั่วไปแล้วจะทำตามหลังมีทางการป้องกันการบรรยายอาจจะต้องการองค์ประกอบของ 4 อาจจะอยู่ในรูปแบบของโปรแกรมโทรทัศน์ในสมัยก่อนและอุปกรณ์ส่วนใหญ่เป็นสื่อประเภทสิ่งพิมพ์
           ในตอนนี้จะกล่าวถึงการแบบวิธีการสื่อ ออกเป็นสารประเภทเชิงวิชาการสื่อดั้งเดิมและเทคโนโลยีที่ใหม่กว่า ในด้านวิธีการดำเนินสุดโดยทั่วไปอาจจะรวมกันแต่จะใช้สื่อร่วมกัน ส่วนสื่อเดิมๆจะรวมถึง สื่อโสตทัศน์ และสำหรับเทคโนโลยีใหม่ หรือสื่อดิจิทัลเพื่อการสื่อสารโทรคมนาคม และไมโครโปรเซสเซอร์ สื่อ สามารถจัดกลุ่มเป็นวัสดุสิ่งพิมพ์ ทัศนวัสดุไม่ฉาย สื่อแต่ละประเภทนี้สามารถเลือกได้ในหลายรูปแบบดังแสดงในตารางที่ 18 และตารางที่ 19
          การตัดสินใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่สื่อดิจิทัล
เทคโนโลยีใหม่เซ็นทรัลประกอบด้วยการเรียนการสอนที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นฐาน การเรียนรู้ทางไกลที่อาศัยเทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคมเป็นพื้นฐาน การเรียนรู้ทางไกลเกิดขึ้นเมื่อผู้เรียนอยู่ในสถานที่ 1 เทคโนโลยีใหม่มีให้เลือกหลากหลายรูปแบบการตารางที่ 18 นิยามศัพท์เฉพาะและเทคโนโลยี
การพิจารณาเลือกซื้อ
มีหลักการทั่วไปจำนวนมากและข้อพิจารณาอื่นๆในการเลือกสื่อที่เหมาะสมสำหรับการเรียนการสอนคือในการเลือกสื่อและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกสื่อ

ตารางที่ 18 ทางเลือกสำหรับสื่อดั้งเดิม



กฎในการเลือกสื่อ
การเลือกสื่อมีกฎอยู่ 6 ข้อ หรือเรียกว่าหลักการทั่วไป ในการพิจารณาก่อนที่ตัดสินใจอย่างไม่เป็นทางการในการเลือกสื่อ
กฎที่ 1 การเรียนการสอนโดยทั่วไปแล้วต้องการสื่อสองทาง (Two way medium) นักเรียนจะเรียนได้ดีเมื่อมีปฏิสัมพันธ์กับวัตถุ / สื่อการเรียนการสอน ครู สมุดทำงาน หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
กฎที่ 2 สื่อทางเดียว (One – way media) ควรจะได้รับการสนับสนุน โดยสื่อที่ให้ข้อมูลป้อนกลับ ตัวอย่างคือ ภาพยนตร์ หรือวีดิทัศน์
กฎที่ 3 การเรียนรู้ของแต่ละบุคคล ต้องการสื่อที่มีความยืดหยุ่น ตัวอย่างคือ ผู้ที่เรียนเช้าอาจจะต้องการสื่อการเรียนที่แตกแขนงออกไปเป็นพิเศษ เช่นการฝึกเสริม ( Remedial exercises)
          กฎที่ 4 การนำเสนอโลกแห่งความเป็นจริง ตัวอย่างเช่น นักเรียนพยาบาลเรียนรู้วิธีการตัดไหม
          กฎที่ 5 พฤติกรรมที่คาดหวังหลังจากการเรียนการสอน ควรจะให้มีการฝึกปฏิบัติในระหว่างที่มีการเรียนการสอน การได้ยิน หรือการได้เห็นทักษะ
          กฎที่ 6 เหตุการณ์แต่ละเหตุการณ์ของบทเรียนอื่นๆ ตัวอย่างเช่น ทฤษฎีที่อยู่บนหลักของวิธีการทำหมัน
          ปัจจัยอื่นๆที่มีผลต่อการเลือกสื่อ
          ได้มีการเรียนรู้กฎซึ่งซึ่งจำเป็นในการพิจารณา เมื่อมีการเลือกสื่อการเรียนการสอนเป็นความจำที่มองหาปัจจัยอื่นๆ ซึ่งจะส่งผลต่อการเลือกสื่อ
ตารางที่ 19 เทคโนโลยีใหม่



ตารางที่ 20 ข้อควรพิจารณาในการเลือกสื่อ



แบบจำลองการเลือกสื่อ
          แบบจำลองการเลือกสื่อการเรียนการสอนมีหลายแบบ สำหรับการพิจารณาแต่ละแบบจะมีวิธีการเลือกสื่อที่ต่างกัน สิ่งที่น่าสังเกตคอ แต่ละแบบมีความต่างกันอย่างไร มีอะไรเป็นนัยของความแตกต่าง
          แบบจำลองของวิลเลี่ยม ออลเลน
          ในแบบจำลองของวิลเลี่ยม ออลเลน (William Allen) ผู้ออกแบบการเรียนการสอนต้องตัดสินใจเกี่ยวกับการจำแนกจุดประสงค์ และการจำแนกความสามารถสูงสุดของสื่อการเรียนการสอนที่จะพลิกแพลงให้เข้ากับจุดประสงค์ ออลเลน ได้ตรวจสอบประสิทธิผล สร้างตารางแจกแจงสองทาง
          แบบจำลองของเยอร์ลาชและอีลี
          ในแบบจำลองของเยอร์ลาชและอีลี (Gerlach and Ely) เป็นที่รู้จักกันในปีคศ 1971 ในตำราที่ชื่อว่าการสอนและสื่อ เยอร์ลาชและอีลี ได้นำเสนอเกณฑ์ ซึ่งสามารถประยุกต์ใช้ในการเลือกสื่อการเรียนการสอนหลังจากที่ระบุจุดประสงค์และระบุพฤติกรรมความพร้อมที่จะรับการสอนแล้วเกณฑ์ดังกล่าวประกอบด้วยประการที่ 1 ความเหมาะสมทางปัญญา(สื่อสามารถส่งผ่านตัวกระตุ้นตามเจตนารมณ์ของจุดประสงค์หรือไม่) ประการที่2 ระดับของความเข้าใจ(สื่อทำให้ผู้เรียนเข้าใจหรือไม่) ประการที่3 ราคาประการที่ 4 ประโยชน์(เครื่องมืออุปกรณ์วัสดุมีประโยชน์หรือไม่)



การขยายขอบเขตการเรียนรู้ด้วยการวิจัยการเรียนรู้
ผู้สอนสามารถปรับปรุงความสามารถในด้านวิชาการของผู้เรียนด้วยการวิจัยการวิจัยการเรียนรู้จะช่วยให้ได้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจว่าเงื่อนไขอะไรที่ทำให้มีการเรียนรู้เพิ่มขึ้นในสถานการณ์ที่คล้ายคลึงกับที่ตนเผชิญอยู่ นักวิทยาศาสตร์พฤติกรรมใช้วิธีการในการศึกษาพฤติกรรมด้วยการสังเกตบุคคลในสถานที่กรณีที่หลากหลายด้วยการตั้งคำถามลึกๆเกี่ยวกับประสบการณ์มีการสำรวจประชากรกลุ่มใหญ่เพื่อที่จะตัดสินใจว่าประชากรเหล่านั้นชอบหรือไม่ชอบนักออกแบบสร้างและใช้แบบทดสอบสำหรับความสามารถและคุณลักษณะของคนจำนวนมากแต่สิ่งที่สำคัญที่สุดและเป็นการให้ผลต่อการศึกษาการเรียนรู้คือการทดลองซึ่งนักวิจัยระมัดระวังและควบคุมการศึกษาสาเหตุและผลที่ได้รับ
          แบบมโนทัศน์ของการวิจัยเกี่ยวกับการออกแบบการเรียนการสอนเนื้อหาส่วนใหญ่ของงานวิจัยที่เกี่ยวกับตัวแปรการออกแบบการเรียนการสอนต้องไม่กว้างเกินไปโดยปราศจากของการจัดการ ริชชี ได้จัดกลุ่มงานวิจัยเกี่ยวกับตัวแปรการเรียนการสอนเป็น 4 กลุ่มใหญ่คือผู้เรียนเนื้อหาวิชาสิ่งแวดล้อมและระบบการสอนการออกแบบการเรียนการสอนขึ้นอยู่กับธรรมชาติของความชี้เฉพาะในแต่ละกลุ่มอย่างหลากหลาย
ตารางที่ 21 ตัวอย่างของการปฏิบัติเชิงการเปลี่ยนแปลง




ข้อมูลป้อนกลับ Feedback  อีกวิธีการหนึ่งที่จะทำให้การผิดพลาดลดลงคือการให้ผู้เรียนได้รับรู้ที่ตอบสนองนั้นไม่ถูกต้องการรู้ว่าถูกหรือผิดจะช่วยให้ผู้เรียนแก้ไขการกระทำให้ถูกต้องระหว่างทดลองและเน้นไปที่ส่วนของพนักงานที่ต้องการกลั่นกรอง
          การเรียนรู้จากสื่อเคลื่อนที่
          เทคโนโลยีแบบเคลื่อนที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้แบบพลวัตที่สร้างสรรค์การเรียนรู้แบบมีปฏิสัมพันธ์กันภายใต้สิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียนในยุคที่ความเจริญก้าวหน้าของสื่อสารไร้สายนี้อุปกรณ์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ประเภทโน๊ตบุ๊คคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือรวมถึงแท็บเล็ต กล้องถ่ายภาพดิจิตอล เครื่องเล่น MP3 หรือ MP4 และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆอีกมากมายในที่นี้เขาเรียกว่าสื่อเคลื่อนที่สามารถนำมาใช้เพื่อช่วยให้ผู้เรียนได้ตอบสนองได้รวดเร็วมีปฏิสัมพันธ์แบบโต้ตอบให้ประสบการณ์ที่ดีเช่นในการสอนวิชาภาษาต่างประเทศสามารถแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ผ่านสื่อเคลื่อนที่ดังกล่าวนี้ทั้งนี้ผู้เรียน ยังใช้ประโยชน์ในการส่งอีเมลหรือใช้ประโยชน์เพื่อการนันทนาการได้อีกด้วย
         

สรุป (conclusion)
           การพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศจะเปลี่ยนการเรียนการสอนแบบเดิมที่เคยเป็นศูนย์กลางมาเป็นการเรียนที่ใช้เทคโนโลยีเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้คือกระบวนการทางสังคมผู้เรียนจะต้องการเรียนรู้เพื่อให้ได้ความรู้หรือคำตอบการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และหาคำตอบจากสื่อสังคมออนไลน์การเรียนรู้ออนไลน์การสร้างสภาพแวดล้อมแห่งการเรียนรู้ใหม่โดยใช้ความสามารถของอินเตอร์เน็ตเว็บสื่อสังคมออนไลน์เพื่อรองรับรูปแบบการเรียนการสอนที่เปลี่ยนไปสภาพแวดล้อมที่มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมากขึ้นสารสนเทศคือส่วนสำคัญการเรียนรู้สื่อดิจิทัลทำให้เกิดโอกาสในการช่วยให้ผู้เรียนรู้ถึงและมีปฏิสัมพันธ์กับแหล่งสารสนเทศกลุ่มผู้เรียนเข้าด้วยกันผู้สอนจะต้องเรียนรู้และพัฒนาเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมในปัจจุบันคืออีเลินนิ่งกล่าวคือจัดให้หรือส่งเสริมการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์และการเรียนรู้แบบเคลื่อนที่อำนวยความสะดวกให้ทางผู้สอนและผู้เรียนเทคโนโลยีที่โดดเด่นที่กำลังทำให้สิ่งของทุกสรรพสิ่งบนโลกสามารถเชื่อมต่อกันได้นั่นคืออินเตอร์เน็ตซึ่งจะมามีบทบาทมากมายเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมต่างๆโดยจะมีผลต่อระบบเศรษฐกิจซึ่งมีการคาดว่า IoE จะทำให้เกิดโอกาสมากมายด้วยมูลค่าที่สูงขึ้นระดับล้านล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐและคาดว่าจะมีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีการนำ IoE มาใช้ในการปฏิวัติการศึกษาเพื่อสร้างรูปแบบของการเรียนการสอนของคนรุ่นใหม่จะยิ่งทำให้เกิดการต่อยอดการเรียนรู้อย่างไม่มีวันสิ้นสุด




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น