วันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

ชื่อเรื่อง แสง สี และการมองเห็น


ชื่อเรื่อง   แสง  สี  และการมองเห็น
กิจกรรมเสริมประสบการณ์
1.       จุดประสงค์
1.นักเรียนสามารถบอกการหักเหของแสงได้
2.นักเรียนสามรถบอกการทำงานของดวงตาได้
      2.    สาระที่ควรเรียนรู้
            - โหลแก้วใสทรงกลมบรรจุน้ำมีคุณสมบัติเป็นเลนส์นูนได้ ภาพที่ได้จากการมองวัตถุในระยะใกล้เลนส์นูนเป็นภาพขยายหัวตั้ง ไม่กลับซ้ายขวา ในขณะที่ภาพที่ได้จากวัตถุที่อยู่ไกลจะมีขนาดเล็ก หัวกลับและกลับซ้ายขวา
      3. ประสบการณ์สำคัญ
            -การคิด การรับรู้และแสดงความรู้สึกผ่านการทดลอง
            -การเชื่อมโยงรูปภาพกับเหตุการณ์
            -การใช้ภาษา การแสดงความรู้สึกด้วยคำพูด
            -การรู้จักสังเกต สิ่งต่างๆด้วยการมอง ฟัง  สัมผัส
     4. ขั้นตอนการจัดกิจกรรม
            1. ครูบอกเกี่ยวกับสิ่งที่จะทดลองวันนี้
              2. ครูกระตุ้น เด็ก เด็กๆ เห็นอะไรภายในห้องบ้างคะ  
            3. ครูฝึกตั้งสมมติฐาน ด้วยการกระตุ้น เด็กๆคิดว่าเมื่อเรามองผ่านแก้วเราเห็นภาพแบบไหนคะ
            4. นำแผ่นชาร์ตการทดลองมาให้นักเรียนดู พร้อมอธิบายการทดลองดังนี้




การทดลอง  การทำงานของดวงตา
                        วัสดุอุปกรณ์


-โหลแก้วใสทรงกลม
- น้ำเปล่า
- ถ้วยกาแฟเซรามิกที่มีรูปภาพสีสันสวยงาม
- ตุ๊กตาขนาดต่างกัน 2 ตัว
- โต๊ะ
- ผนังสีขาว

                                   
ขั้นตอนการทดลอง
1.       ครูทักทายเด็กๆและบอกว่าวันนี้จะทำการการทดลองอะไร ครูใช้คำถาม
ครู   เด็กๆลองมองภายในห้องสิค่ะ  เด็กเห็นอะไรบ้าง
น้องซี      ทีวีครับ
น้องนุ่น   หนังสือค่ะ
น้องไอซ์  พัดลมค่ะ
ครู             ตาเรามีไว้ทำอะไรค่ะ
นักเรียน     มีไว้ดูค่ะ/ครับ

2.       ตั้งโหลแก้วที่เติมน้ำเกือบเต็มห่างจากผนังหรือฉากสีขาวประมาณ 50 เซนติเมตร  จากนั้นวางถ้วยกาแฟไว้ระหว่างโหลแก้วกับผนัง
3.       ให้เด็กๆมองด้านหน้าโหลแก้วในระยะห่างต่าง ๆ กัน โดยเริ่มจากชิดกับโหลแก้ว และค่อยๆขยับออกมา อาจต้องปรับเปลี่ยนระยะระหว่างถ้วยกาแฟกับโหลแก้วเพื่อให้ภาพคมชัดขึ้น
ครู  เด็กๆเห็นภาพเป็นแบบไหนค่ะ
น้องไอซ์  ภาพใหญ่ค่ะและก็ไม่ค่อยชัดค่ะ
น้องซี    ภาพไม่ชัดครับ
น้องมินตรา   ภาพมันใหญ่ค่ะ
ครู            ถ้าภาพไม่ชัด ไหนเด็กๆลองขยับหน้าออกจากแก้วช้าๆสิค่ะ  ภาพเป็นแบบไหนค่ะ
น้องซี             ภาพเล็ก  หัวกลับครับ
น้องนาข้าว     ภาพมันกลับหัวค่ะ
น้องนุ่น           ภาพกลับหัวค่ะ
ครู                   ทำไมภาพถึงกลับหัวค่ะ
น้องอ๊อฟ         แก้วมีน้ำครับ

4.       ให้เด็กๆ วางตุ๊กตา 2 ตัว ระหว่างโหลแก้วกับฉากขยับหาตำแหน่งที่เห็นภาพตุ๊กตาผ่านโหลแก้วคมชัดที่สุด 
ครู                  เด็กๆเห็นตุ๊กตาเป็นแบบไหนค่ะ
น้องโยเกิร์ต   ตุ๊กตาตัวใหญ่ขึ้นค่ะ
น้องอ๊อฟ        ชัดขึ้นและหัวกลับครับ
5.       สาธิตการทดลองให้เด็กดูทีละขั้นตอน
6.       ให้อาสาสมัครออกมาทำการทดลองให้เพื่อนๆดู
7.       ครูชักชวนให้เด็กทำการทดลอง
8.       จัดเตรียมอุปกรณ์  แล้วให้เด็กๆทำการทดลอง
9.       เด็กและครูร่วมกันสรุปผลการทดลอง ว่า การที่มองผ่านแก้วใสที่มีน้ำเต็มมีคุณสมบัติเป็นเลนส์นูนจึงทำให้ภาพที่เห็นเป็นภาพขยายหัวกลับ



สรุปการทดลอง
5. สื่อ
            1. โหลแก้วใสทรงกลม
            2. น้ำเปล่า
            3. ถ้วยกาแฟเซรามิกที่มีรูปภาพสีสันสวยงาม   
            4. ตุ๊กตาขนาดต่างกัน 2 ตัว
            5. โต๊ะ
            6. แผนชาร์ตการทดลอง
            7. แบบบันทึกการทดลอง
6. การประเมินผล
            1. สังเกตการณ์การใช้สายตาในการมอง
            2. สังเกตการณ์การสนทนาและการตอบคำถาม
            3. สังเกตการณ์การบันทึกการทดลอง

เด็กได้อะไรจากกิจกรรมนี้ ?

            จากแผนการสอนเรื่อง แสง  สี และการมองเห็น  ที่ได้นำลงไปสอนเด็กในช่วงอายุ 3-5 ปี  เด็กมีพัฒนาการครบทั้ง 4 ด้าน ได้แก่  ด้านร่างกาย  ด้านอารมณ์ –จิตใจ  สังคม  และสติปัญญา   พัฒนาทางด้านร่างกายคือ เด็กได้ใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก และกล้ามเนื้อมัดใหญ่ ในการทำกิจกรรม โดยการหยิบจับสิ่งของ  พัฒนาการด้านอารมณ์-จิตใจ เด็กได้พูดได้แสดงออกด้วยท่าทาง ตามที่ตนเองรู้สึกจากการทำกิจกรรม   พัฒนาการด้านสังคมและสติปัญญา  เด็กได้ทำงานร่วมกับเพื่อนและได้แลกเปลี่ยนความคิดกับเพื่อนในกลุ่มโดยที่มีครูค่อยแนะนำและค่อยกระตุ้นในการใช้ความคิด  และการตอบคำถาม  โดยจะประเมินเด็กโดยใช้ การสังเกตจากการบันทึกการทดลองที่เด็กได้ทำ  และการสนทนาตอบคำถาม
อ้างอิงความน่าเชื่อถือ    https://sites.google.com/site/nnglak1/hlaksutr-pthmway

           


           



Mind Map



วันเสาร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

สรุป


สรุป
ในการจัดการเรียนการสอนจะตัดสินใจว่าปัญหาในการพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนนั้น เป็น ปัญหาที่สามารถแก้ไขด้วยการศึกษา การวางแผนจัดการเรียนการสอนจะต้องมีการวิเคราะห์เนื้อหาสาระ วิเคราะห์งานและภาระงาน การวิเคราะห์ภาระงานนําไปสู่การปฏิบัติเพื่อสนองตอบความต้องการการเรียนรู้ กล่าวคือ การทบทวนระบบหรือกระบวนการเพื่อช่วยให้ผู้เรียนมีความเข้าใจเพิ่มมากขึ้น และผู้เรียนจะได้รับ ภาระงานสําหรับการเรียนการสอน ส่วนภาระงานที่ไม่เกี่ยวข้องก็ควรจะถูกตัดออกหรือใช้วิธีอื่นที่ไม่ใช่การ สอน ภาระงานที่เลือกมาต้องคํานึงถึงประสิทธิผลและประสิทธิภาพ ซึ่งการจัดการเรียนรู้ที่ดีต้องแสวงหา วิธีการที่ดีที่สุดภายใต้กรอบค่าใช้จ่ายที่ได้รับ(มีประสิทธิภาพ) และต้องสนองตอบจุดหมายของการเรียนรู้ (มี ประสิทธิผล)ไปพร้อมกัน

การเรียนรู้แบบร่วมมือ


การเรียนรู้แบบร่วมมือ
ประสิทธิผลของการเรียนรู้แบบร่วมมือได้รับการยืนยันจากการวิจัยทั้งการศึกษาวิจัยในห้องทดลอง และในภาคสนาม การศึกษาสหสัมพันธ์ที่แสดงว่าการเรียนรู้แบบร่วมมือได้ผลในห้องเรียนจริง ๆ Johnson and Johnson (1994) สรุปว่าการวิจัยเชิงสาธิตแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม คือ 1) การประเมินผลรวม ได้ผลว่าการ เรียนรู้แบบร่วมมือก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่เป็นประโยชน์ 2) การประเมินผลรวมเชิงเปรียบเทียบ ได้ข้อสรุปว่ากระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือดีกว่ากระบวนการเรียนรู้แบบอื่น ๆ 3) การประเมินผลระหว่างเรียนให้ผลที่ จุดมุ่งหมายที่การพัฒนาการการใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ และ 4) การศึกษาผลกระทบของการเรียนรู้แบบ ร่วมมือที่มีต่อผู้เรียน การเรียนรู้แบบร่วมมืออาจใช้ได้ดีกับทุกระดับชั้น ทุกเนื้อหาวิชา และทุกงาน(ภาระงาน) ด้วยความมั่นใจ ความร่วมมือเป็นความพยายามของมนุษย์โดยทั่วไป ซึ่งส่งผลกระทบต่อผลลัพธ์ต่าง ๆ ทาง การศึกษา ผลลัพธ์นี้ Johnson and Johnson (1989a) สรุปได้เป็น 3 ประเภท คือ ความพยายามที่จะบรรลุ ผลสัมฤทธิ์ สัมพันธภาพทางบวกระหว่างบุคคล และสุขภาพจิต ดังภาพประกอบที่ 4




ภาพประกอบที่ 4 ผลลัพธ์ของการร่วมมือ
ที่มา Johnson and Johnson (1994 the new circles of learning cooperation in the classroom and school มานพ ธรรมสาร ผู้แปล กรมวิชาการ 2546 : 32)

ทักษะแห่งความร่วมมือ
Johnson and Johnson (1991, 1994) กล่าวว่า ทักษะระหว่างบุคคลหลายทักษะส่งผลต่อความสําเร็จ ในความพยายามร่วมมือกัน ทักษะแห่งความร่วมมือมี 4 ระดับ คือ
1. ระดับสร้างนิสัย (forming) ทักษะขั้นพื้นฐานที่จําเป็นต่อการสร้างกลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมือ ให้ทําหน้าที่ได้ เป็นทักษะเริ่มแรกของทักษะที่มุ่งการจัดการเรียนรู้และกําหนดมาตรฐานขั้นต่ํา พฤติกรรมที่ สําคัญบางประการเกี่ยวกับทักษะระดับสร้างนิสัย ดังตัวอย่างต่อไปนี้
เคลื่อนไหวในกลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยไม่ก่อให้เกิดเสียงรบกวน เวลาการทํางานกลุ่มเป็น สิ่งมีค่า จึงควรใช้เวลาในการจัดโต๊ะเก้าอี้และจัดกลุ่มการเรียนให้น้อยที่สุดตามความจําเป็น นักเรียนอาจ จําเป็นต้องฝึกการจัดกลุ่มหลาย ๆ ครั้งก่อนที่จะปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิผล
อยู่ประจํากลุ่ม นักเรียนที่เดินไปเดินมาในช่วงที่กลุ่มทํางานไม่ก่อให้เกิดผลดี และยังรบกวน สมาธิของสมาชิกกลุ่มอื่นด้วย
พูดเบา ๆ แม้ว่ากลุ่มการเรียนรู้ต้องอาศัยปฏิสัมพันธ์ระหว่างกลุ่ม แต่ไม่จําเป็นต้องใช้เสียงดัง เกินไป ครูอาจมอบหมายให้นักเรียนคนหนึ่งในกลุ่มเป็นผู้คอยกํากับคนอื่นให้พูดเบาๆ
กระตุ้นให้ทุกคนมีส่วนร่วม สมาชิกกลุ่มทุกคนต้องร่วมกันคิดร่วมกันใช้สื่อการเรียน และมีส่วน ในความพยายามให้กลุ่มบรรลุผล การให้นักเรียนผลัดเปลี่ยนกันทําหน้าที่เป็นวิธีหนึ่งที่จะทําให้นักเรียนทุก คนในกลุ่มมีส่วนร่วม
2. ระดับสร้างบทบาท (function) ทักษะที่จําเป็นต่อการจัดกิจกรรมกลุ่ม เพื่อทํางานให้สําเร็จ และรักษาสัมพันธภาพในการทํางานที่มีประสิทธิผลในหมู่สมาชิกกลุ่ม ทักษะระดับที่สองนี้เน้นที่การจัดการ ความพยายามของกลุ่มเพื่อทํางานให้สําเร็จและรักษาความสัมพันธ์ในการทํางานที่มีประสิทธิผล การทําให้ สมาชิกกลุ่มจดจ่ออยู่กับการทํางาน การหาวิธีดําเนินการที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และการสร้าง บรรยากาศการทํางานที่น่าพึงพอใจและเป็นมิตรนั้น ถือว่าเป็นการผสมผสานอันสําคัญที่จะนําไปสู่กลุ่มการ เรียนรู้แบบร่วมมือที่มีประสิทธิผล ตัวอย่างทักษะระดับสร้างบทบาท
แนะแนวทางการทํางานของกลุ่ม โดย (1) แจ้งและความมุ่งหมายของงานที่ได้รับมอบหมาย (2) เตือนให้ใช้เวลาตามที่กําหนดไว้ และ(3) เสนอขั้นตอนว่าจะทํางานอย่างไรให้สําเร็จอย่างมีประสิทธิผล ที่สุด
แสดงออกถึงการสนับสนุนและการยอมรับ ทั้งการใช้คําพูดและการแสดงท่าทาง โดยใช้การ มองสบตา แสดงความสนใจ ชมเชยแสวงหาความคิด และข้อสรุปของผู้อื่น
ขอความช่วยเหลือหรือความชัดเจนในสิ่งที่พูดหรือทําในกลุ่ม
เสนอให้คําอธิบายหรือชี้แจง
แปลความหมายข้อเสนอของสมาชิกอื่น
เสริมพลังให้กลุ่มเมื่อเห็นว่าแรงจูงใจลดลง โดยเสนอแนะความคิดใหม่ ใช้อารมณ์ขัน หรือ แสดงความกระตือรือร้น
บรรยายความรู้สึกของตนเมื่อมีโอกาสเหมาะ
3. ระดับสร้างระบบ (formulating) เป็นทักษะที่จําเป็นต่อการสร้างความเข้าใจระดับลึกใน เนื้อหาวิชาที่เรียน เพื่อส่งเสริมให้ใช้กลยุทธ์การใช้เหตุผลที่มีคุณภาพสูง และเพิ่มความเชี่ยวชาญและความ คงทนของความรู้ที่ได้จากงานที่ปฏิบัติ ทักษะระดับที่สามนี้ทําให้เกิดกระบวนการทางสมองที่จําเป็นในการสร้างความเข้าใจที่ลึกลงไปในเนื้อหาความรู้ที่เรียน กระตุ้นการใช้กลยุทธ์การให้เหตุผลที่มีคุณภาพสูง เพิ่มความเชี่ยวชาญและความคงทนของเนื้อหาความรู้ที่เรียน เนื่องจากความมุ่งหมายกลุ่มการ ต้องการเพิ่มการเรียนรู้ของสมาชิก ทักษะเหล่านี้มุ่งเป้าหมายเฉพาะไปที่การให้รูปแบบวิธีการใน ระเบียบความรู้ที่เรียน ทักษะระดับสร้างระบบสามารถดําเนินไปได้ในขณะที่สมาชิกกลุ่มรับบทน กัน บทบาทที่สัมพันธ์กับทักษะเหล่านี้คือ
ผู้สรุปย่อ เป็นผู้กล่าวสรุปสิ่งที่อ่าน หรือภิปรายให้สมบูรณ์เท่าที่จะทําได้โดยไม่อาศัยข่ามอง หรือสื่อการเรียนต้นฉบับ ควรสรุป ข้อเท็จจริงและความคิดสําคัญทั้งหมดไว้ในการสรุปย่อด้วย สมาชิกทุกคน ในกลุ่มต้องสรุปย่อจากความจําบ่อย ๆ เพื่อเพิ่มการเรียนรู้
ผู้แก้ไข เป็นผู้ระวังเรื่องความถูกต้อง โดยคอยแก้ไขข้อสรุปของสมาชิก แล้วเพิ่มเติมข้อสนเทศที่ สําคัญซึ่งไม่ปรากฏในข้อสรุป
ผู้ประสานความร่วมมือ เป็นผู้ประสานความร่วมมือโดยขอให้สมาชิกอื่น ๆ เชื่อมโยงความรู้ กําลังเรียนอยู่กับความรู้ที่เรียนไปแล้ว และกับสิ่งอื่น ๆ ที่สมาชิกเหล่านั้นรู้
ผู้ช่วยจํา เป็นผู้หาวิธีการที่ดีในการจดจําข้อเท็จจริงและความคิดสําคัญ โดยการใช้ภาพวาด สร้าง มโนภาพ หรือวิธีจําอื่น ๆ แล้วนํามาร่วมหารือในกลุ่ม
ผู้ตรวจสอบความเข้าใจ เป็นผู้ขอให้สมาชิกกลุ่มอธิบายเป็นขั้นเป็นตอนถึงเหตุผลที่ใช้ในการ ทํางานให้สําเร็จ ซึ่งจะทําให้การให้เหตุผลของนักเรียนชัดแจ้ง และเปิดกว้างต่อการปรับแก้และอภิปราย
ผู้ขอความช่วยเหลือ เป็น ผู้เลือกคนที่จะคอยให้ความช่วยเหลือเพื่อนในกลุ่ม รวมทั้งเป็นผู้ตั้ง คําถามที่ชัดเจนและตรงประเด็น และทําอยู่อย่างนั้นจนกว่าจะช่วยเหลือสําเร็จ
ผู้อธิบาย เป็นผู้บรรยายวิธีการทํางานให้สําเร็จ (โดยไม่ให้คําตอบ) ให้ข้อมูลย้อนกลับที่เจาะจง เกี่ยวกับงานนักเรียนอื่น และลงท้ายด้วยการขอให้นักเรียนอื่นบรรยายหรือสาธิตวิธีการทํางานให้สําเร็จ
ผู้ให้ความสะดวกในการอธิบาย เป็นผู้ขอให้สมาชิกกลุ่มวางแผนที่จะสอนเนื้อหาความ นักเรียนคนอื่นโดยละเอียด การวางแผนวิธีการถ่ายทอดความรู้ที่ดีที่สุด มีผลต่อคุณภาพของกลยุทธ เหตุผลและความคงทนของความรู้
4. ระดับสร้างเสริม (fermenting) ทักษะที่จําเป็นต่อการส่งเสริมการรับรู้เหตุผล ความขัดแย้งด้านการรู้คิด(อภิปัญญา) การค้นหาความรู้เพิ่มเติม และการสื่อสารกันด้วยหลักเหตุผล สรุปผล ทักษะแห่งความร่วมมือระดับที่สี ที่ทําให้นักเรียนสามารถเข้าร่วมในการโต้แย่งทางวิชาการได้ ประเด็นสําคัญที่สุดบางประการของการเรียนรู้เกิดขึ้นเมื่อ สมาชิกกลุ่มท้าทายการสรุปผล และการ ของกันและกันอย่างคล่องแคล่ว การได้แยงทางวิชาการทําให้สมาชิกกลุ่มเจาะลึกในเนื้อหาความรู้ที่เรียน ระดมหลักเหตุผลในข้อสรุป คิดแปลกแยกเกี่ยวกับปัญหา หาข้อสนเทศเพิ่มเติมเพื่อสนับสนุนจุดยืนของตน
และอภิปรายโต้แย้งอย่างสร้างสรรค์เกี่ยวกับทางเลือกของการแก้ปัญหาและการตัดสินใจ ทักษะที่เกี่ยวข้องกับ การโต้แย้งทางวิชาการ ได้แก่
วิจารณ์ความคิด โดยไม่วิจารณ์คน
แบ่งแยกความแตกต่าง เมื่อมีความเห็นขัดแย้งขึ้นในกลุ่มการเรียนรู้
บูรณาการความคิดหลายความคิดให้เป็นจุดยืนเดียว
ขอคําชี้แจงในเรื่องการสรุปผลผลหรือคําตอบของสมาชิก
ขยายความข้อสรุปหรือคําตอบของสมาชิกอื่น โดยเพิ่มเติมข้อมูลหรือแสดงนัยที่นอกเหนือ
ออกไป
ตรวจสอบโดยการตั้งคําถามซึ่งนําไปสู่ความเข้าใจที่ลึกลงไป หรือการวิเคราะห์ (มันจะได้ผล หรือไม่ในสถานการณ์นี้” “มีอย่างอื่นอีกหรือไม่ที่ทําให้คุณเชื่อ....")
ให้คําตอบลึกลงไปอีกโดยเจาะลึกลงไปนอกเหนือคําตอบหรือข้อสรุปแรก ให้คําตอบที่มีความ เป็นไปได้หลาย ๆ คําตอบให้เลือก
ทดสอบความจริงโดยการตรวจสอบงานของกลุ่มในเรื่องวิธีการทํางาน เวลาที่มี และปัญหาที่ กลุ่มเผชิญ
ทักษะความร่วมมือช่วยให้สมาชิกกลุ่มมีแรงจูงใจในการให้คําตอบที่ลึกมีคุณภาพสูง นอกเหนือจากคําตอบที่ตอบออกมาอย่างฉับพลัน โดยการกระตุ้นการคิดและความอยากรู้อยากเห็นทางพุทธิ ปัญญาของสมาชิกกลุ่ม

การสานสร้างความรู้จากสังคม


การสานสร้างความรู้จากสังคม
Toffler (1980) กล่าวถึงพัฒนาการทางสังคมมนุษย์จากสังคมเกษตรกรรม มาสู่สังคมอุตสาหกรรม และสังคมสารสนเทศ พัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศ เรียกกันในช่วงแรกว่า สังคมสารสนเทศ (information Society) ต่อมาผู้คนในสังคมที่มีปัญญาสามารถจัดการความรู้ได้ สังคมสารสนเทศก็กลายเป็น สังคมฐานความรู้ (Knowledge based society) การพัฒนาเทคโนโลยีไร้สาย เป็นผลให้แนวทางในการจัด การศึกษาจําเป็นต้องให้สมาชิกในสังคมให้พร้อมรับสังคมฐานความรู้ การศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางที่ กล่าวกันในการจัดการศึกษานั้น ต้องเกิดจากความเข้าใจผู้เรียนและสภาพแวดล้อมของผู้เรียน เพื่อสร้าง กิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับศักยภาพของผู้เรียนและองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง เช่น การจัดกระบวนการ เรียนรู้ สื่อในการเรียนรู้ การศึกษาตามทฤษฎี social constructivism มีความเหมาะสมมากสําหรับสังคมสารสนเทศ โดยเฉพาะสังคมฐานความรู้ เนื่องจากผู้เรียนสามารถเรียนรู้เรื่องต่าง ๆ จากแหล่งความรู้ที่หลากหลาย หาก สถานศึกษาจัดสภาวะแวดล้อมให้สามารถเข้าถึงแหล่งความรู้จากเครือข่ายสารสนเทศ สุดาพร ลักษมียนาวิน (2550) ได้เสนอกระบวนการเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีการสานสร้างความรู้จากสังคม constructivism) ดังนี้




การศึกษาตามแนวทฤษฎีการสานสร้างความรู้จากสังคม หลักสูตรจะเป็นตัวกําหนดสิ่งที่จะเรียนรู้ โรงเรียนและผู้สอนจะกํากับการเรียนรู้ ผู้เรียนและผู้สอนจะช่วยกันคิดกิจกรรมการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับ สภาพสังคม วิธีการเรียนการสอนแบบนี้ต้องรวมพลังในการเรียนการสอน ทั้งการเตรียมการ เวลาในการ ค้นคว้าหาข้อมูล เวลาในการทํากิจกรรมและเวลาที่ต้องมีให้แก่กันระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน และผู้เรียนกับ ผู้สอน เป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิต กิจกรรมการเรียนเป็นเรื่องที่ผู้เรียนเป็นผู้กํากับดูแลเอง (autonomous learner) ผู้เรียนเป็นผู้สานสร้างความรู้ ในบริบทของคําถามและโจทย์ที่มีให้ตอบไม่รู้จบ เครื่องมือและสภาพทาง กายภาพของห้องเรียน มีการออกแบบห้องเรียนที่ช่วยให้ผู้เรียนแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสื่อ กับเพื่อน และกับ ผู้สอน

อัธยาตมวิทยา : ความรู้ที่เกี่ยวกับจิตใจของคน


อัธยาตมวิทยา : ความรู้ที่เกี่ยวกับจิตใจของคน
นิรมล ตีรณสาร สวัสดิบุตร (2548 : 7 – 8) ได้กล่าวไว้ว่า หนังสือ อัธยาตมวิทยา (อ่านว่า อัด-ทะยาต-ตะ-มะ-วิด-ทะ-ยา) หมายถึง ความรู้ที่เกี่ยวกับจิตใจของคน ซึ่งเป็นความรู้ที่ผู้เป็นครูจําเป็นต้องรู้ เพราะ ทํางานกับคน เป็นตําราวิชาครูของกรมศึกษาธิการ ที่เขียนโดย ขุนจรัสชวนะพันธ์ (สารท สุทธเสถียร) พิมพ์ เผยแพร่ในปี ร.ศ. 125 (พ.ศ.249) อาจารย์ผู้สอนวิชาจิตวิทยาการศึกษาในสถาบันผลิตครูยิ่งควรอ่าน และเชิญ ชวนให้นิสิต นักศึกษาอ่านด้วย และเสนอแนวคิดเพิ่มเติมว่า ในการเขียนตํารา ควรอ่านแล้วปรับปรุงตํารา ให้ทันสมัยเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสม พยายามให้ได้ใจความและเลือกสรรเฉพาะเรื่องที่จําเป็นสําหรับครูจริง ๆ ตลอดจนการใช้วิธีเขียนและภาษาที่เข้าใจง่ายเช่นเดียวกับที่ตําราอัธยาตมวิทยานี้แสดงตัวอย่างไว้ หนังสือ อัธยาตมวิทยา แบ่งเป็นตอนใหญ่ๆ 10 ตอน คือ
1. วิทยาศาสตร์แห่งร่างกายและวิทยาศาสตร์แห่งจิตใจ ซึ่งเน้นว่า ครูที่ดีจะต้องรู้อาการของจิตใจ เรียนให้ละเอียด เหมือนแพทย์ที่ดีต้องรู้อาการของร่างกายคนไข้
2 ลักษณะทั้งสามของจิตใจ (ความกระเทือนใจ ความรู้ ความตั้งใจ) มีการแบ่งชั้นของความเจริญ ของจิตใจไว้ 3 ชั้น คือ อายุ 17 ปี 7-14 ปี และ 14 - 21 ปี ซึ่งเป็นช่วงอายุของคนที่ที่เป็นลูกศิษย์ของครูอาจารย์
3. ความสนใจ มีสองชนิด คือ ที่เกิดขึ้นเอง และที่ต้องทําให้เกิดขึ้น
4. ความพิจารณา มีการเปรียบเทียบให้เห็นชัดเจนว่าเด็กในกรุงเทพฯ กับเด็กบ้านนอกมีความ พิจารณาต่างกันอย่างไร และครูของเด็กทั้งสองพวกนี้ควรส่งเสริมเด็กต่างกันอย่างไร นอกจากนี้ยังมี ข้อแนะนําที่น่าสนใจสําหรับครูในการสอนวิชาต่าง ๆ เช่น ภูมิศาสตร์ ไวยากรณ์ พงศาวดาร การเขียนลายมือ และวาดรูป
5. ความเจริญของอาการทั้งห้า (รู้สึก เห็น ฟัง ชิม ดม) มีการกล่าวถึงหน้าที่ของครูในการหัด อาการทั้ง 5 และบอกวิธีหัดอาการบางชนิดไว้ด้วย เช่น หัดให้รู้จักสี หัดให้รู้จักรูป หัดให้รู้จักหนทางไกล (การวัดการคาดคะเน) หัดให้รู้จักรูปด้วยอาการสัมผัส หัดอาการฟังด้วยการอ่าน-ด้วยเพลง หัดอาการคมและ อาการชิม
6. ความจํา มีเรื่องลืมสนิท และลืมไม่สนิท จําได้และนึกออก ชนิดของความจําและเรื่องที่ครูควร อ่านเป็นอย่างยิ่ง คือ สิ่งที่ครูควรถือเป็นหลักในเวลาที่จะให้นักเรียนจํา สิ่งที่ควรให้นักเรียนท่องขึ้นใจ และสิ่ง ที่ไม่ควรให้นักเรียนท่อง
7. ความคิดคํานึง วิธีฝึกหัดความคิดคํานึงให้ดีขึ้น มีการเสนอว่าบทเรียนที่ช่วยฝึกหัดความคิด คํานึงของเด็กได้ดีที่สุดคือ พงศาวดาร และภูมิศาสตร์ และแม้แต่หนังสือเรื่อง ยักษ์หรือผีสางเทวดาที่ผู้ใหญ่ เห็นว่าไร้สาระ ก็ช่วยหัดให้เด็กมีความคิดคํานึงได้
8. ความตกลงใจ เกิดจากอาการ 2 อย่าง คือ การเปรียบเทียบและการลงความเห็น มีตัวอย่าง บทเรียนที่ช่วยฝึกหัดความตกลงใจ เช่น การเขียนหนังสือ และวาดรูป บทเรียนสําหรับหัดมือ (พับ ตัด ปั้น) การกระจายประโยคตามตําราไวยากรณ์ เลข การเล่นออกแรง
9. ความวิเคราะห์ มีการแสดงตัวอย่างวิธีสอน 2 แบบ คือ แบบคิดค้น” (induction) และแบบคิดสอบ” (deduction) มีการเปรียบเทียบให้ดูว่าคิดค้นกับคิคสอบต่างกันอย่างไรและมีประโยชน์แก่การศึกษา ต่างกันอย่างไร ครูจะได้เลือกว่าเมื่อใดควรให้นักเรียนคิดค้น เมื่อใดให้คิดสอบ และมีตัวอย่างวิธีสอนเรื่อง กริยาวิเศษณ์ที่แสดงขั้นตอนการสอนให้ดู 4 ขั้นตอน ซึ่งเป็นการคิดค้น แล้วต่อด้วยอีก 2 ขั้นตอน ซึ่งเป็นการ คิดสอบ การใช้วิธีสอนรวมกันทั้งคิดค้นและคิดสอบเช่นนี้ ท่านเรียกว่า วิธีสําเร็จ และบอกว่าเป็นวิธีที่ดีกว่าวิธี
อื่น ๆ
10. ความเข้าใจ มีการให้ตัวอย่าง คําจํากัดความ ลักษณะแห่งความเข้าใจ และบอกวิธีสอนที่จะ ทําให้เด็กเข้าใจได้ดี ซึ่งเป็นสิ่งที่ครูทุกคนปรารถนา
วิชาอัธยาตมวิทยาต่อมาเป็นวิชาจิตวิทยาในหลักสูตรผลิตครูในหลายสถาบัน คือ เรียนรู้หลักวิชา จิตวิทยาที่จะเป็นประโยชน์ในการเรียนการสอน (จรัส ชวนะพันธ์ (สารท สุทธเสถียร),ขุน (2548) นนทบุรี : สํานักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช)

การปรับเปลี่ยนการเรียนการสอนภายใต้ข้อจํากัดของทรัพยากร


การปรับเปลี่ยนการเรียนการสอนภายใต้ข้อจํากัดของทรัพยากร
ชั้นเรียน โดยทั่วไปกําหนดให้มีจํานวนผู้เรียนประมาณห้องหรือกลุ่มละ 30 คน เพื่อที่ผู้สอนและ ผู้เรียนจะได้มีปฏิสัมพันธ์อย่างทั่วถึง และกระบวนการจัดการเรียนการสอนเป็นทางการ เมื่อสังคม เปลี่ยนแปลงจํานวนผู้เรียนเพิ่มขึ้น เป็นผลให้ชั้นเรียนขนาดเล็กกลายเป็นชั้นเรียนขนาดใหญ่ ผู้สอนใน สถาบันอุดมศึกษาที่รับผิดชอบสอนชั้นเรียนขนาดใหญ่ได้แบ่งเป็นกลุ่มหรือชั้นเรียนขนาดเล็ก โดยมีผู้ช่วย สอนหรือไม่ผู้สอนก็ใช้เทคโนโลยีมาใช้ในการสอน ( มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบและเทคนิคการเรียนการสอน ที่เกี่ยวข้องกับผู้สอน ผู้ช่วยสอน (ประจําห้องปฏิบัติการ ห้องเทคโนโลยีที่ทันสมัย ) ซึ่งส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ ของผู้เรียน ในการจัดการเรียนการสอนควรมีการปรับเปลี่ยนเนื่องจากมีข้อจํากัดของทรัพยากรอันเป็นผลจาก พัฒนาการทางสังคม โดยปรับวิธีการเรียนการสอน เครื่องมือและสภาพกายภาพ ผู้สอนจะต้องมีความรู้ เกี่ยวกับจิตใจของคน การจัดการเรียนรู้เชิงสังคม และการเรียนรู้แบบร่วมมือ เป็นต้น


การสอนเพื่อความเข้าใจ: การออกแบบการเรียนรู้แบบย้อนกลับ


การสอนเพื่อความเข้าใจ: การออกแบบการเรียนรู้แบบย้อนกลับ
การกําหนดจุดหมายที่พึงประสงค์ในการสอนเพื่อความเข้าใจครูจะพิจารณาว่านักเรียนมีความ พื้นฐานที่เป็นสิ่งที่มีคุณค่าและน่าจะรู้อะไรบ้างแล้ว จากนั้นกําหนดขอบข่ายให้แคบลงว่านักเรียนควรม จําเป็นต้องรู้และจําเป็นต้องทํา นักเรียนควรทําความเข้าใจในเรื่องใด และควรทําอะไรได้บ้าง ควรมก เข้าใจที่ยั่งยืนอะไรบ้าง ครูจะต้องพิจารณาวิธีการประเมิน ซึ่งจะสะท้อนให้เห็นว่ากิจกรรมการเรียนการ จะต้องลุ่มลึกกว่าที่ผ่านมาเป็นอย่างมาก (ระบุหลักฐานและเกณฑ์ในการประเมินผลชัดเจน) จึงจะสา" พัฒนาให้เกิดความเข้าใจในระดับที่ลึกซึ้ง
การออกแบบการเรียนรู้แบบย้อนกลับ (Backward Design)
Wiggin ได้เสนอเสนอกระบวนการออกแบบ การเรียนรู้ที่ย้อนกลับ จากจุดหมายการเรียนรู้และมาตรฐานกําหนดไว้ โดยเริ่มจากจุดหมายการเรียนรู้ที่พึงประสงค์ จากนั้นจึงออกแบบหลักสูตร ออกแบบ แผนการจัดการเรียนรู้ และออกแบบการประเมินผลการเรียนรู้ไปพร้อม ๆ กัน เริ่มจากจะวิเคราะห์ตั้งแต่ช่วงแรกของการออกแบบหลักสูตรว่า หากนักเรียนบรรลุจุดหมายที่กําหนดไว้ จะต้องพิจารณาจากสิ่งใดหรือจากหลักฐานอะไร จึงจะถือว่านักเรียนได้เกิดความเข้าใจในระดับที่พึงประสงค์ วิธีการนี้จะช่วยให้ครูมี ความชัดเจนในเรื่องจุดหมาย และออกแบบให้มีความสอดคล้องกันระหว่างกิจกรรมการเรียนการสอนและ จดหมายที่พึงประสงค์ การออกแบบแบบย้อนกลับ (backward design) จะมี 3 ขั้นตอนดังนี้
1 การกําหนดจุดหมายในการจัดการเรียนรู้
2 การกําหนดหลักฐานที่แสดงว่านักเรียนได้บรรลุจุดหมายการเรียนรู้ที่กําหนดไว้
3 การวางแผนจัดประสบการณ์การเรียนรู้
การกําหนดจุดหมายในการจัดการเรียนรู้
ผู้สอนจะพิจารณาว่าผู้เรียนมีความรู้พื้นฐานที่เป็นสาระสําคัญและรู้อะไรแล้ว กําหนดขอบข่ายว่า นักเรียนจําเป็นต้องรู้สาระอะไร และจะต้องทําอะไรได้ ผู้เรียนควรทําความเข้าใจในเรื่องใด ควรทําอะไรได้ บ้าง และควรมีความเข้าใจที่ลุ่มลึกและยั่งยืนในเรื่องใด Wiggin ได้เสนอเกณฑ์พิจารณากําหนดจุดหมาย ประการ ได้แก่
1. จุดหมายในการจัดการเรียนรู้นั้น เป็นประเด็นหลักที่จะมีคุณค่านอกบริบทการเรียนการสอน ในห้องเรียนหรือไม่ ความเข้าใจที่ยั่งยืนต้องไม่เป็นเพียงข้อมูลหรือทักษะ เฉพาะเรื่องเท่านั้น แต่จะต้องเป็น เรื่องหลัก ประเด็นหลัก ที่สามารถนําไปปรับประยุกต์ในสถานการณ์อื่นๆ นอกห้องเรียน
2. จุดหมายในการจัดการเรียนรู้นั้น เป็นหัวใจของศาสตร์ ที่เรียนหรือไม่ นักเรียนควรมีโอกาส ผ่านกระบวนการของศาสตร์นั้น ๆ เพื่อจะได้เรียนรู้ว่าองค์ความรู้ในศาสตร์นั้นๆ เกิดขึ้นได้อย่างไร
3. จุดหมายในการจัดการเรียนรู้นั้น ต้องมีการดูแลเป็นพิเศษ เพื่อให้นักเรียนมีความเข้าใจ เพียงใด มีเนื้อหาสาระเป็นจํานวนมากที่ซับซ้อน ยาก และเป็นนามธรรมเกินที่นักเรียนจะเข้าใจได้ด้วย ตนเอง หัวข้อเหล่านี้ ควรได้รับการดูแลเป็นพิเศษ และควรบรรจุในการเรียนการสอนมากกว่าเนื้อหาที่เข้าใจ ง่าย ที่นักเรียนอาจเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง
4. จุดหมายในการจัดการเรียนรู้นั้น เอื้อต่อการมีส่วนร่วมของนักเรียน มีหลายหัวข้อ หลาย กิจกรรมที่นักเรียนสนใจตามวัยอยู่แล้ว สามารถเลือกมาใช้เพื่อเป็น “ประตู” ไปสู่เรื่องอื่นที่ใหญ่กว่า หาก สามารถเชื่อมโยงเรื่องที่เรียนไปสู่เรื่องที่นักเรียนสนใจ จะช่วยทําให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าต่อเนื่องด้วยตนเอง ต่อไป
การวางแผนการจัดการเรียนรู้
เมื่อมีความชัดเจนเกี่ยวกับจุดหมายการเรียนรู้และหลักฐานที่เป็นรูปธรรมแล้วผู้สอนสามารถเริ่ม วางแผนการจัดการเรียนรู้ได้ โดยอาจตั้งคําถามดังต่อไปนี้
ความรู้และทักษะอะไรจะช่วยให้นักเรียนมีความสามารถตามจุดหมายที่กําหนดไว้
กิจกรรมอะไรจะช่วยพัฒนานักเรียนไปสู่จุดหมายดังกล่าว
สื่อการสอนจึงจะเหมาะสมสําหรับกิจกรรมการเรียนรู้ข้างต้น
การออกแบบโดยรวมสอดคล้องและลงตัวหรือไม่