วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2562

กรอบแนวคิดที่มา The STUDIES Model



กรอบแนวคิดที่มา    The  SYUDIES  Model
            
                   รูปแบบ  The  SYUDIES  Model  เป็นผลสืบเนื่องจากการศึกษาวิจัยเพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดกาเรียนรู้แลการจัดการชั้นเรียน  สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู  ศึกษาวิเคราะห์หลักการ  แนวคิด  ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง  ประกอบด้วยแนวนโยบายแห่งรัฐในการจัดการศึกษายุค  Thailand  4.0 หรือยุคการศึกษา  4.0  มาตรฐานวิชาชีพครู  พ.ศ.2556  แนวคิดการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์  (constructivist  Learning Method   : CLM)    การเรียนรู้ตามแนวคิด SOLO  Taxonomy ผลการศึกษาวิจัยได้รูปแบบการจัดการเรียนรู้  ที่เรียกว่า  The  SYUDIES  Model  มีรายละเอียดกรอบแนวคิด  (The  SYUDIES  Model  framework)  ดังภาพประกอบที่ 1







รูปแบบ  The  SYUDIES  model 
            รูปแบบ   The  SYUDIES  Model    มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้นักศึกษาวิชาชีพครู  มีความรู้ความเข้าใจบทบาทที่สำคัญในฐานะผู้เรียนที่จะต้องศึกษาศาสตร์การสอน  และมีบทบาทในฐานะผู้สอนที่จะนำความรู้ไปจัดการเรียนรู้  และการจัดการชั้นเรียน  รายละเอียดดังภาพประกอบที่  2 





ภาพประกอบที่  2  The  SYUDIES  model 
ที่มา  พิจิตรา  ธงพานิช การพัฒนารูปแบบ   The  SYUDIES  Model    เพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้  สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู  2561 7

รูปแบบ The  SYUDIES  Model    มี 7ขั้นตอน  ดังรายละเอียดต่อไปนี้
S :  กำหนดจุดมุ่งหมายการเรียนรู้  (Setting  learning  goals)  การกำหนดจุดหมายการเรียนรู้  ผู้เรียนต้องระบุจุดหมายการเรียนรู้ (goals) ด้วยการระบุความรู้และการปฏิบัติ  โดยระบุ  ความรู้ในรูปแบบของการสารสนเทศ
T :  วิเคราะห์ภาระงาน  (Task Analysis)  ศึกษาข้อมูลต่าง ๆ  เพื่อให้ได้  ความรู้  (knowledge)  ทักษะ (Skill) และเจตคติ (Attitude)  ที่เกี่ยวข้อง  จุดหมายการเรียนรู้  การวิเคราะห์งานจะเขียนแสดงความสัมพันธ์ด้วย (KPA) KSA  diagram
U :  การออกแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากล  (Universal  Design  for  Instruction   UDI)  เป็นการออกแบบการสอนที่ครูมีบทบาทเป็นผู้ดำเนินการเชิงรุก  (proactive) เกี่ยวกับการผลิตและการจัดหาจัดทำ หรือชี้แนะ

พหุปัญญา 8ประการของ Dr. Howard Gardner

                ทฤษฎีพหุปัญญาคิดค้นขึ้นโดย
 Dr. Howard Gardner ในปี คศ. 1983 เพื่อชี้ชัดถึงมโนทัศน์ของความฉลาด และแจกแจงวิธีวัดความฉลาด ซึ่งมีหลากหลาย (ภาษาไทยเรียกพหุปัญญา) ว่าเป็นวิทยาศาสตร์อย่างแท้จริง
                ทฤษฎีของเขาอธิบายโต้แย้งว่าความฉลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามที่เคยระบุความหมายไว้แต่เดิมซึ่งเรียก “ไอคิว” (IQ) นั้นไม่เพียงพอที่จะชี้นำไปสู่การแสดงความสามารถของมนุษย์ที่มีมากมายหลากหลาย ในความคิดของเขาเด็กที่ฝึกคูณเลข(คณิตศาสตร์) ได้อย่างคล่องแคล่วไม่จำเป็นว่าจะฉลาดกว่าคนที่คิดเลขไม่ค่อยได้
                เด็กคนที่สองอาจมีปัญญาชนิดอื่นที่แกร่งกว่าก็ได้ ดังนั้นการเรียนรู้ที่ดีที่สุดอาจเกิดจากวัตถุดิบที่ให้ผ่านวิธีการที่ต่างกัน เขาอาจจะทำได้ดีในเรื่องที่ไม่ใช่คณิตศาสตร์หรืออาจจะกำลังดูผ่าน กระบวนการเรียนรู้การคูณที่ระดับพื้นฐานที่ลึกซึ้งกว่าซึ่งซ่อนศักยภาพ ที่เหนือชั้นกว่าปัญญาทางคณิตศาสตร์ไว้สูงกว่าคนที่แค่จำหลักคิดได้เท่านั้น

ประเภทของพหุปัญญาตามการจำแนกของ Gardner

                1. ปัญญาด้านปฏิสัมพันธ์ต่อผู้อื่น (Interpersonal Intelligence)  ขอบเขตของปัญญาด้านนี้เกี่ยวกับการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ในทฤษฎีผู้ที่มีปัญญา ทางการปฏิสัมพันธ์สูงมีแนวโน้มเอาใจใส่ต่อสิ่งภายนอก ลักษณะนิสัยตามการสัมผัสถึงอารมณ์ ความรู้สึก ภาวะจิตใจ แรงจูงใจของผู้อื่น สามารถร่วมไม้ร่วมมือเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของทีมให้ได้สื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพเอาใจใส่ผู้อื่นได้ง่าย เป็นได้ทั้งผู้นำและผู้ตาม ปกติเรียนรู้ได้ดีที่สุดผ่านการทำงานร่วมกับผู้อื่น ชอบการได้อภิปรายถกเถียง     อาชีพที่เหมาะสมได้แก่ พนักงานขาย นักการเมือง ผู้จัดการ ครู นักแสดง นักสังคมสงเคราะห์   ตัวอย่างผู้มีชื่อเสียง เช่น บิล คลินตัน คานธี โอปราห์ วินฟรีย์

                2. ปัญญาด้านปฏิสัมพันธ์ต่อตนเอง (Intrapersonal Intelligence)  ขอบเขตของปัญญาด้านนี้จะเกี่ยวกับความสามารถในการใคร่ครวญและวิเคราะห์ตนเอง คนที่มีปัญญาประเภทนี้มักเป็นคนเก็บตัวและชอบทำงานคนเดียว เป็นคนระวังตัวสูง สามารถเข้าใจอารมณ์ เป้าหมาย และแรงจูงใจของตนเองได้ มักมีความเกี่ยวข้องกับการแสวงหาทางความคิด เช่น ปรัชญา จะเรียนรู้ได้ดีที่สุดเมื่อรับอนุญาตให้จดจ่อสิ่งที่ตนสนใจ มีระดับการเป็นผู้พอใจในความเป็นเลิศสูงเนื่องมาจากปัญญาของเขาอาชีพที่เหมาะคือนักปรัชญา นักจิตวิทยา นักศาสนศาสตร์ นักเขียน เจ้าของกิจการ และนักวิทยาศาสตร์     ตัวอย่างผู้มีชื่อเสียง เช่น ฟรอยด์ บิล เกตส์ และเพลโต
                3. ปัญญาค้านตรรกะ-คณิตศาสตร์ (Logical-Mathematical Intelligence)  ขอบเขตของปัญญาด้านนี้เกี่ยวกับตรรกะ นามธรรม การใช้เหตุผลและตัวเลข คนที่มีปัญญาด้านนี้มักจะเก่งคณิตศาสตร์ หมากรุก การโปรแกรมคอมพิวเตอร์ และกิจกรรมอื่นที่เกี่ยวกับตัวเลขและตรรกะ
คำนิยามที่ถูกต้องตั้งอยู่บนการเน้นย้ำบนความสามารถทางคณิตศาสตร์แบบเดิม ความสามารถในการใช้เหตุผล การจดจำรูปแบบนามธรรม การหาความจริงและการคิดอย่างวิทยาศาสตร์ และความสามารถในการคำนวณที่ซับซ้อน สามารถนำมาเทียบเคียงกับมโนทัศน์เรื่องปัญญาแบบเดิมหรือ IQ ได้ อาชีพที่เหมาะคือ นักวิทยาศาสตร์ นักคณิตศาสตร์ วิศวกร หมอ นักเศรษฐศาสตร์    ผู้ที่มีชื่อเสียง เช่น อัลเบอร์ต ไอสไตน์ เออร์วิน ชโรดินเกอร์ จอห์น ดิวอี้

                4. ปัญญาด้านการมองเห็น-พื้นที่ (Visual-Spatial Intelligence) ขอบเขตของปัญญาด้านนี้เกี่ยวกับการตัดสินภาพและพื้นที่ ผู้ที่มีปัญญาด้านนี้จะเป็นคนที่ใช้สายตา และวิเคราะห์วัตถุในมโนภาพได้ดี ผู้ที่มีปัญญาทางพื้นที่มักมีประสิทธิภาพในการแก้ปริศนาได้ดี พวกเขามีความจำทางสายตาที่ดีและโน้มเอียงไปในทางศิลปิน และมักมีสัมผัสเรื่องทิศทางได้ดีรวมถึงอาจมีเรื่องการประสานงานระหว่างมือและตาที่ดีด้วย ซึ่งจะเหมือนกับลักษณะที่เห็นในกลุ่มปัญญาด้านการเคลื่อนไหว       ดูเหมือนว่ามีความใกล้เคียงกันอย่างสูงระหว่างปัญญาด้านพื้นที่ และปัญญาด้านคณิตศาสตร์ ซึ่งเท่ากับว่าปัญญาทั้งสองชนิดนี้ไม่ได้เป็นอิสระต่อกัน เนื่องจากการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์เกี่ยวข้องกับการจัดการสัญลักษณ์ จำนวน และปัญญาด้านพื้นที่ก็มีลักษณะเดียวกันด้วย    อาชีพที่เหมาะสมคือ ศิลปิน วิศวกร สถาปนิก       ตัวอย่างผู้มีชื่อเสียงเช่น ปิกัสโซ แฟรงค์ ลอยด์ ไร้ท์ และลีโอนาโด ดาวินชี
                5. ปัญญาด้านการเคลื่อนไหวทางร่างกาย (Bodily-Kinesthetic Intelligence)  ขอบเขตของปัญญาด้านนี้เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวทางร่างกายและจิตวิทยา ตามทฤษฎีผู้ที่มีปัญญาด้านการเคลื่อนไหวของร่างกายจะเรียนรู้ได้ดีขึ้นเมื่อเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ เช่น การยืนขึ้นและเดินไปรอบๆ และมักจะเก่งในกิจกรรมทางร่างกายเช่น กีฬา หรือเต้นรำ  พวกเขาอาจจะชอบการละครหรือการแสดง โดยทั่วไปมักถนัดการสร้างหรือทำบางสิ่ง มักจะเรียนรู้ได้ดีที่สุดโดยใช้ร่างกาย มากกว่าแค่อ่านหรือฟัง ผู้ที่มีความสามารถเช่นนี้มักจะใช้สิ่งที่เรียกว่า ความทรงจำจากกล้ามเนื้อ คือ พวกเขาจะจำสิ่งต่างๆผ่านร่างกายเช่นการจำถ้อยคำหรือรูป
อาชีพที่เหมาะสมคือ นักกีฬา นักเต้น นักแสดง ศัลยแพทย์ แพทย์ทั่วไป พนักงานก่อสร้าง และทหาร แม้ว่าอาชีพพวกนี้จะเลียนแบบได้ด้วยการมองเห็น แต่ไม่ได้ก่อให้เกิดการเรียนรู้ทางกายที่แท้จริงซึ่งจำเป็นต่อปัญญาด้านนี้
อีกทั้งยังแบ่งย่อยได้อีก เป็นการถนัดใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ (gross motor skills) และการถนัดใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก (fine motor skills)
ตัวอย่างผู้มีชื่อเสียงเช่น ไมเคิล แจ็คสัน จูเลีย โรเบิร์ตส์ มิชาเอล บาริช นิคอฟ เอลวิส เพรสลีย์ เป็นต้น
                6. ปัญญาด้านถ้อยคำ-ภาษา (Linguistic Intelligence)  ขอบเขตของปัญญาด้านนี้เกี่ยวกับเรื่องคำ ทั้งพูดและเขียน ผู้ที่มีปัญญาด้านนี้จะแสดงความสามารถในเรื่องคำและภาษา พวกเขามักจะเก่งการอ่าน การเขียนการเล่าเรื่อง และจดจำคำพร้อมกับวัน เดือน ปี ได้ดี    พวกเขามีแนวโน้มเรียนได้ดีที่สุดผ่านการอ่าน การจดบันทึก ฟังการสอน และผ่านการอภิปรายถกเถียง และมักมีทักษะการอธิบาย การสอน การปราศรัยหรือพูดจูงใจ จะเรียนภาษาต่างประเทศได้อย่างสบายเพราะมีความจำเรื่องคำได้ดี สามารถนึกย้อนหลังได้ และมีความสามารถเข้าใจ และจัดการโครงสร้างประโยคได้    อาชีพที่เหมาะสมคือ นักเขียน ทนาย นักปรัชญา นักหนังสือพิมพ์ นักการเมือง กวี และครู     ผู้มีชื่อเสียงได้แก่ วิลเลียม เชคเสปียร์ เวอร์จิเนีย วูลฟ์ อับราฮัม ลินคอล์น วอลท์ วิทแมน และบารัก โอบามา เป็นต้น
                7. ปัญญาด้านเข้าใจธรรมชาติ (Naturalist Intelligence)  ขอบเขตของปัญญาด้านนี้เกี่ยวกับการเข้าใจลึกซึ้งเรื่องธรรมชาติ การดูแล และเชื่อมโยงข้อมูลกับสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติของผู้นั้น ผู้ที่มีปัญญานี้อาจกล่าวได้ว่ามีความอ่อนไหวต่อธรรมชาติ และสถานที่ที่ตนอยู่ ความสามารถที่จะดูแลบางสิ่ง และเอาใจใส่ ฝึกสัตว์ให้เชื่อง และสัมพันธ์กับสัตว์ได้ดีกว่า ทั้งยังสามารถสังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงในอากาศ หรือความแปรปรวนทั่วไปในสิ่งรอบตัวได้ การจดจำและจัดกลุ่มสิ่งของเป็นสิ่งหลักของผู้มีปัญญาเข้าใจธรรมชาติ พวกเขาจะต้องเชื่อมโยงประสบการณ์ใหม่กับความรู้ที่มีมาก่อนหน้านี้เพื่อจะได้เรียนรู้สิ่งใหม่ที่แท้จริง นักธรรมชาติวิทยา เรียนได้ดีที่สุดเมื่อสิ่งนั้นๆเกี่ยวกับการรวบรวม และการวิเคราะห์ หรือเกี่ยวพันกับบางสิ่งที่สะดุดตาอย่างยิ่งในธรรมชาติ ผู้เรียนแนวธรรมชาติจะสนใจเรียนมากขึ้นเมื่ออยู่นอกสถานที่หรือด้วยการเคลื่อนไหว  อาชีพที่เหมาะสมคือ นักวิทยาศาสตร์ นักธรรมชาติวิทยา นักอนุรักษ์ เกษตรกร      ผู้มีชื่อเสียงเช่น ชาลส์ ดาร์วิน และ อี โอวิลสัน
                8. ปัญญาด้านดนตรี (Musical Intelligence)    ขอบเขตของปัญญาด้านนี้เกี่ยวกับจังหวะ ดนตรี และการได้ยิน ผู้ที่มีปัญญาทางดนตรีและจังหวะสูง จะแสดงความสามารถในการสัมผัสทางเสียง จังหวะ ระดับเสียง และดนตรีได้ดีกว่าพวกเขามักมีช่วงเสียงที่ดี หรือแม้แต่ช่วงเสียงที่สมบูรณ์ สามารถร้องเพลง เล่นดนตรี และแต่งเพลงได้ เนื่องจากมีองค์ประกอบทางเสียงมาประกอบกับปัญญาด้านนี้ ผู้ที่มีปัญญานี้อาจจะเรียนได้ดีที่สุดผ่านการฟัง นอกจากนี้ยังใช้เพลงหรือจังหวะเพื่อเรียนและจดจำข้อมูลเสมอๆ และอาจทำงานได้ดีที่สุดด้วยการมีดนตรีเป็นพื้นภูมิ    อาชีพที่เหมาะสม คือ นักดนตรี นักร้อง วาทยกร ดีเจ นักสุนทรพจน์ นักแต่งเพลง นักเขียน (เป็นส่วนน้อย) หรือ ผู้แทนจำหน่าย     ตัวอย่างผู้มีชื่อเสียง เช่น โมสาร์ท จูลี่ แอนดรูว์ แอนเดรีย บอชเชลลี่ ลีโอนาร์ด เบิร์นสไตน์
                เมื่อ Dr. Howard Gardner ถูกถามในการสัมภาษณ์ว่าเขาคิดทฤษฎีพหุปัญญาได้อย่างไร เขาตอบว่า “สิ่งสำคัญที่สุดนั้นมาจากการศึกษาสมองที่เสียหายและสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อผู้คนเป็นโรคเส้นโลหิตในสมองแตก บางส่วนของสมองเสียหาย และการบาดเจ็บนั้นสามารถบอกได้ว่าสมองส่วนใดทำหน้าที่อะไร บางคนเสียความสามารถของกล้ามเนื้อแต่ยังพูดได้ บางคนเสียความสามารถทางภาษาแต่ยังร้องเพลงได้ ความเข้าใจนี้ไม่เพียงแต่นำผมมายังการศึกษาเรื่องสมองเท่านั้น ยังเป็นเมล็ดพันธุ์ที่นำไปสู่เรื่องพหุปัญญาในที่สุด ตราบเท่าที่คุณเสียความสามารถไปอย่างหนึ่ง แต่อย่างอื่นยังคงอยู่ คุณไม่สามารถมีเพียงปัญญาเพียงด้านเดียว แต่เราต้องมีพหุปัญญา


D :  การเรียนรู้จากสื่อดิจิทัล  (Digital  Learning)  การเรียนรู้จากสื่อดิจิทัลเป็นการเรียนรู้ผ่านเครือข่าย  เช่น  เครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social  networking)    การแชร์ภาพ  และการใช้อินเทอร์เน็ตแบบเคลื่อนที่ เป็นต้น
I :  การบรูณาการความรู้ (Integrated  knowledge )  การเชื่อมโยงความรู้เกี่ยวกับภายในศาสตร์ต่าง ๆ ของรายวิชาเดียวกันหรือหลากหลายวิชาเพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตจริงได้
E :  การประเมินเพื่อปรับปรุงการสอน  (Evaluation  to  Improve  Teaching)  การประเมินการเรียนรู้ของตนเอง  โดยกำหนดค่าคะแนนจากการวิเคราะห์การประเมินการเรียนรู้ด้านความรู้

S  :   การประเมินอิงมาตรฐาน  (Standard  Based  Assessment)  การประเมินคุณภาพการเรียนรู้อิงมาตรฐาน  โดยใช้แนวคิดพื้นฐานโครงสร้างการสังเกตผลการเรียนรู้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น