วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2562

สรุป


สรุป
การจัดการเรียนรู้แลการจัดการชั้นเรียน  เป็นวิชาที่นักศึกษาวิชาชีพครูจะต้องศึกษาไว้ให้แตกฉาน  รูปแบบ   The  SYUDIES  Model  เป็นการนำเสนอให้รู้จักหลักเกณฑ์หรือแนวทางในการจัดการเรียนรู้  กล่าวได้ว่า  การรู้รูปแบบ  The  SYUDIES  Model  อย่างเดียว แต่ถ้าไม่ได้ลงมือปฏิบัติจริง ๆ  ก็คงสอนไม่ได้ดี  รูปแบบ   The  SYUDIES  Model  พัฒนาขึ้นเพื่อช่วยให้ผู้สอนไดใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนรู้  และช่วยในการตัดสินใจ

การปรับปรุงรายวิชา



การปรับปรุงรายวิชา
            สาขาวิชาหลักสูตรและนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยนครพนม  ได้ปรับปรุงหลักสูตรครุศาสตร์บัณฑิต  พ.ศ. 2556  เป็นหลักสูตรครุศาสตร์บัณฑิต  ปรับปรุง  พ.ศ. 2561 และปรับเปลี่ยนรายวิชา  การออกแบบและการจัดการเรียนรู้  (Instructional  Design  and  Management)  เป็นรายวิชาการจัดการเรียนรู้แลการจัดการชั้นเรียน  (Instructional    and  Classroom   Management

กรอบแนวคิดที่มา The STUDIES Model



กรอบแนวคิดที่มา    The  SYUDIES  Model
            
                   รูปแบบ  The  SYUDIES  Model  เป็นผลสืบเนื่องจากการศึกษาวิจัยเพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดกาเรียนรู้แลการจัดการชั้นเรียน  สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู  ศึกษาวิเคราะห์หลักการ  แนวคิด  ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง  ประกอบด้วยแนวนโยบายแห่งรัฐในการจัดการศึกษายุค  Thailand  4.0 หรือยุคการศึกษา  4.0  มาตรฐานวิชาชีพครู  พ.ศ.2556  แนวคิดการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์  (constructivist  Learning Method   : CLM)    การเรียนรู้ตามแนวคิด SOLO  Taxonomy ผลการศึกษาวิจัยได้รูปแบบการจัดการเรียนรู้  ที่เรียกว่า  The  SYUDIES  Model  มีรายละเอียดกรอบแนวคิด  (The  SYUDIES  Model  framework)  ดังภาพประกอบที่ 1







รูปแบบ  The  SYUDIES  model 
            รูปแบบ   The  SYUDIES  Model    มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้นักศึกษาวิชาชีพครู  มีความรู้ความเข้าใจบทบาทที่สำคัญในฐานะผู้เรียนที่จะต้องศึกษาศาสตร์การสอน  และมีบทบาทในฐานะผู้สอนที่จะนำความรู้ไปจัดการเรียนรู้  และการจัดการชั้นเรียน  รายละเอียดดังภาพประกอบที่  2 





ภาพประกอบที่  2  The  SYUDIES  model 
ที่มา  พิจิตรา  ธงพานิช การพัฒนารูปแบบ   The  SYUDIES  Model    เพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้  สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู  2561 7

รูปแบบ The  SYUDIES  Model    มี 7ขั้นตอน  ดังรายละเอียดต่อไปนี้
S :  กำหนดจุดมุ่งหมายการเรียนรู้  (Setting  learning  goals)  การกำหนดจุดหมายการเรียนรู้  ผู้เรียนต้องระบุจุดหมายการเรียนรู้ (goals) ด้วยการระบุความรู้และการปฏิบัติ  โดยระบุ  ความรู้ในรูปแบบของการสารสนเทศ
T :  วิเคราะห์ภาระงาน  (Task Analysis)  ศึกษาข้อมูลต่าง ๆ  เพื่อให้ได้  ความรู้  (knowledge)  ทักษะ (Skill) และเจตคติ (Attitude)  ที่เกี่ยวข้อง  จุดหมายการเรียนรู้  การวิเคราะห์งานจะเขียนแสดงความสัมพันธ์ด้วย (KPA) KSA  diagram
U :  การออกแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากล  (Universal  Design  for  Instruction   UDI)  เป็นการออกแบบการสอนที่ครูมีบทบาทเป็นผู้ดำเนินการเชิงรุก  (proactive) เกี่ยวกับการผลิตและการจัดหาจัดทำ หรือชี้แนะ

พหุปัญญา 8ประการของ Dr. Howard Gardner

                ทฤษฎีพหุปัญญาคิดค้นขึ้นโดย
 Dr. Howard Gardner ในปี คศ. 1983 เพื่อชี้ชัดถึงมโนทัศน์ของความฉลาด และแจกแจงวิธีวัดความฉลาด ซึ่งมีหลากหลาย (ภาษาไทยเรียกพหุปัญญา) ว่าเป็นวิทยาศาสตร์อย่างแท้จริง
                ทฤษฎีของเขาอธิบายโต้แย้งว่าความฉลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามที่เคยระบุความหมายไว้แต่เดิมซึ่งเรียก “ไอคิว” (IQ) นั้นไม่เพียงพอที่จะชี้นำไปสู่การแสดงความสามารถของมนุษย์ที่มีมากมายหลากหลาย ในความคิดของเขาเด็กที่ฝึกคูณเลข(คณิตศาสตร์) ได้อย่างคล่องแคล่วไม่จำเป็นว่าจะฉลาดกว่าคนที่คิดเลขไม่ค่อยได้
                เด็กคนที่สองอาจมีปัญญาชนิดอื่นที่แกร่งกว่าก็ได้ ดังนั้นการเรียนรู้ที่ดีที่สุดอาจเกิดจากวัตถุดิบที่ให้ผ่านวิธีการที่ต่างกัน เขาอาจจะทำได้ดีในเรื่องที่ไม่ใช่คณิตศาสตร์หรืออาจจะกำลังดูผ่าน กระบวนการเรียนรู้การคูณที่ระดับพื้นฐานที่ลึกซึ้งกว่าซึ่งซ่อนศักยภาพ ที่เหนือชั้นกว่าปัญญาทางคณิตศาสตร์ไว้สูงกว่าคนที่แค่จำหลักคิดได้เท่านั้น

ประเภทของพหุปัญญาตามการจำแนกของ Gardner

                1. ปัญญาด้านปฏิสัมพันธ์ต่อผู้อื่น (Interpersonal Intelligence)  ขอบเขตของปัญญาด้านนี้เกี่ยวกับการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ในทฤษฎีผู้ที่มีปัญญา ทางการปฏิสัมพันธ์สูงมีแนวโน้มเอาใจใส่ต่อสิ่งภายนอก ลักษณะนิสัยตามการสัมผัสถึงอารมณ์ ความรู้สึก ภาวะจิตใจ แรงจูงใจของผู้อื่น สามารถร่วมไม้ร่วมมือเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของทีมให้ได้สื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพเอาใจใส่ผู้อื่นได้ง่าย เป็นได้ทั้งผู้นำและผู้ตาม ปกติเรียนรู้ได้ดีที่สุดผ่านการทำงานร่วมกับผู้อื่น ชอบการได้อภิปรายถกเถียง     อาชีพที่เหมาะสมได้แก่ พนักงานขาย นักการเมือง ผู้จัดการ ครู นักแสดง นักสังคมสงเคราะห์   ตัวอย่างผู้มีชื่อเสียง เช่น บิล คลินตัน คานธี โอปราห์ วินฟรีย์

                2. ปัญญาด้านปฏิสัมพันธ์ต่อตนเอง (Intrapersonal Intelligence)  ขอบเขตของปัญญาด้านนี้จะเกี่ยวกับความสามารถในการใคร่ครวญและวิเคราะห์ตนเอง คนที่มีปัญญาประเภทนี้มักเป็นคนเก็บตัวและชอบทำงานคนเดียว เป็นคนระวังตัวสูง สามารถเข้าใจอารมณ์ เป้าหมาย และแรงจูงใจของตนเองได้ มักมีความเกี่ยวข้องกับการแสวงหาทางความคิด เช่น ปรัชญา จะเรียนรู้ได้ดีที่สุดเมื่อรับอนุญาตให้จดจ่อสิ่งที่ตนสนใจ มีระดับการเป็นผู้พอใจในความเป็นเลิศสูงเนื่องมาจากปัญญาของเขาอาชีพที่เหมาะคือนักปรัชญา นักจิตวิทยา นักศาสนศาสตร์ นักเขียน เจ้าของกิจการ และนักวิทยาศาสตร์     ตัวอย่างผู้มีชื่อเสียง เช่น ฟรอยด์ บิล เกตส์ และเพลโต
                3. ปัญญาค้านตรรกะ-คณิตศาสตร์ (Logical-Mathematical Intelligence)  ขอบเขตของปัญญาด้านนี้เกี่ยวกับตรรกะ นามธรรม การใช้เหตุผลและตัวเลข คนที่มีปัญญาด้านนี้มักจะเก่งคณิตศาสตร์ หมากรุก การโปรแกรมคอมพิวเตอร์ และกิจกรรมอื่นที่เกี่ยวกับตัวเลขและตรรกะ
คำนิยามที่ถูกต้องตั้งอยู่บนการเน้นย้ำบนความสามารถทางคณิตศาสตร์แบบเดิม ความสามารถในการใช้เหตุผล การจดจำรูปแบบนามธรรม การหาความจริงและการคิดอย่างวิทยาศาสตร์ และความสามารถในการคำนวณที่ซับซ้อน สามารถนำมาเทียบเคียงกับมโนทัศน์เรื่องปัญญาแบบเดิมหรือ IQ ได้ อาชีพที่เหมาะคือ นักวิทยาศาสตร์ นักคณิตศาสตร์ วิศวกร หมอ นักเศรษฐศาสตร์    ผู้ที่มีชื่อเสียง เช่น อัลเบอร์ต ไอสไตน์ เออร์วิน ชโรดินเกอร์ จอห์น ดิวอี้

                4. ปัญญาด้านการมองเห็น-พื้นที่ (Visual-Spatial Intelligence) ขอบเขตของปัญญาด้านนี้เกี่ยวกับการตัดสินภาพและพื้นที่ ผู้ที่มีปัญญาด้านนี้จะเป็นคนที่ใช้สายตา และวิเคราะห์วัตถุในมโนภาพได้ดี ผู้ที่มีปัญญาทางพื้นที่มักมีประสิทธิภาพในการแก้ปริศนาได้ดี พวกเขามีความจำทางสายตาที่ดีและโน้มเอียงไปในทางศิลปิน และมักมีสัมผัสเรื่องทิศทางได้ดีรวมถึงอาจมีเรื่องการประสานงานระหว่างมือและตาที่ดีด้วย ซึ่งจะเหมือนกับลักษณะที่เห็นในกลุ่มปัญญาด้านการเคลื่อนไหว       ดูเหมือนว่ามีความใกล้เคียงกันอย่างสูงระหว่างปัญญาด้านพื้นที่ และปัญญาด้านคณิตศาสตร์ ซึ่งเท่ากับว่าปัญญาทั้งสองชนิดนี้ไม่ได้เป็นอิสระต่อกัน เนื่องจากการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์เกี่ยวข้องกับการจัดการสัญลักษณ์ จำนวน และปัญญาด้านพื้นที่ก็มีลักษณะเดียวกันด้วย    อาชีพที่เหมาะสมคือ ศิลปิน วิศวกร สถาปนิก       ตัวอย่างผู้มีชื่อเสียงเช่น ปิกัสโซ แฟรงค์ ลอยด์ ไร้ท์ และลีโอนาโด ดาวินชี
                5. ปัญญาด้านการเคลื่อนไหวทางร่างกาย (Bodily-Kinesthetic Intelligence)  ขอบเขตของปัญญาด้านนี้เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวทางร่างกายและจิตวิทยา ตามทฤษฎีผู้ที่มีปัญญาด้านการเคลื่อนไหวของร่างกายจะเรียนรู้ได้ดีขึ้นเมื่อเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ เช่น การยืนขึ้นและเดินไปรอบๆ และมักจะเก่งในกิจกรรมทางร่างกายเช่น กีฬา หรือเต้นรำ  พวกเขาอาจจะชอบการละครหรือการแสดง โดยทั่วไปมักถนัดการสร้างหรือทำบางสิ่ง มักจะเรียนรู้ได้ดีที่สุดโดยใช้ร่างกาย มากกว่าแค่อ่านหรือฟัง ผู้ที่มีความสามารถเช่นนี้มักจะใช้สิ่งที่เรียกว่า ความทรงจำจากกล้ามเนื้อ คือ พวกเขาจะจำสิ่งต่างๆผ่านร่างกายเช่นการจำถ้อยคำหรือรูป
อาชีพที่เหมาะสมคือ นักกีฬา นักเต้น นักแสดง ศัลยแพทย์ แพทย์ทั่วไป พนักงานก่อสร้าง และทหาร แม้ว่าอาชีพพวกนี้จะเลียนแบบได้ด้วยการมองเห็น แต่ไม่ได้ก่อให้เกิดการเรียนรู้ทางกายที่แท้จริงซึ่งจำเป็นต่อปัญญาด้านนี้
อีกทั้งยังแบ่งย่อยได้อีก เป็นการถนัดใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ (gross motor skills) และการถนัดใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก (fine motor skills)
ตัวอย่างผู้มีชื่อเสียงเช่น ไมเคิล แจ็คสัน จูเลีย โรเบิร์ตส์ มิชาเอล บาริช นิคอฟ เอลวิส เพรสลีย์ เป็นต้น
                6. ปัญญาด้านถ้อยคำ-ภาษา (Linguistic Intelligence)  ขอบเขตของปัญญาด้านนี้เกี่ยวกับเรื่องคำ ทั้งพูดและเขียน ผู้ที่มีปัญญาด้านนี้จะแสดงความสามารถในเรื่องคำและภาษา พวกเขามักจะเก่งการอ่าน การเขียนการเล่าเรื่อง และจดจำคำพร้อมกับวัน เดือน ปี ได้ดี    พวกเขามีแนวโน้มเรียนได้ดีที่สุดผ่านการอ่าน การจดบันทึก ฟังการสอน และผ่านการอภิปรายถกเถียง และมักมีทักษะการอธิบาย การสอน การปราศรัยหรือพูดจูงใจ จะเรียนภาษาต่างประเทศได้อย่างสบายเพราะมีความจำเรื่องคำได้ดี สามารถนึกย้อนหลังได้ และมีความสามารถเข้าใจ และจัดการโครงสร้างประโยคได้    อาชีพที่เหมาะสมคือ นักเขียน ทนาย นักปรัชญา นักหนังสือพิมพ์ นักการเมือง กวี และครู     ผู้มีชื่อเสียงได้แก่ วิลเลียม เชคเสปียร์ เวอร์จิเนีย วูลฟ์ อับราฮัม ลินคอล์น วอลท์ วิทแมน และบารัก โอบามา เป็นต้น
                7. ปัญญาด้านเข้าใจธรรมชาติ (Naturalist Intelligence)  ขอบเขตของปัญญาด้านนี้เกี่ยวกับการเข้าใจลึกซึ้งเรื่องธรรมชาติ การดูแล และเชื่อมโยงข้อมูลกับสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติของผู้นั้น ผู้ที่มีปัญญานี้อาจกล่าวได้ว่ามีความอ่อนไหวต่อธรรมชาติ และสถานที่ที่ตนอยู่ ความสามารถที่จะดูแลบางสิ่ง และเอาใจใส่ ฝึกสัตว์ให้เชื่อง และสัมพันธ์กับสัตว์ได้ดีกว่า ทั้งยังสามารถสังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงในอากาศ หรือความแปรปรวนทั่วไปในสิ่งรอบตัวได้ การจดจำและจัดกลุ่มสิ่งของเป็นสิ่งหลักของผู้มีปัญญาเข้าใจธรรมชาติ พวกเขาจะต้องเชื่อมโยงประสบการณ์ใหม่กับความรู้ที่มีมาก่อนหน้านี้เพื่อจะได้เรียนรู้สิ่งใหม่ที่แท้จริง นักธรรมชาติวิทยา เรียนได้ดีที่สุดเมื่อสิ่งนั้นๆเกี่ยวกับการรวบรวม และการวิเคราะห์ หรือเกี่ยวพันกับบางสิ่งที่สะดุดตาอย่างยิ่งในธรรมชาติ ผู้เรียนแนวธรรมชาติจะสนใจเรียนมากขึ้นเมื่ออยู่นอกสถานที่หรือด้วยการเคลื่อนไหว  อาชีพที่เหมาะสมคือ นักวิทยาศาสตร์ นักธรรมชาติวิทยา นักอนุรักษ์ เกษตรกร      ผู้มีชื่อเสียงเช่น ชาลส์ ดาร์วิน และ อี โอวิลสัน
                8. ปัญญาด้านดนตรี (Musical Intelligence)    ขอบเขตของปัญญาด้านนี้เกี่ยวกับจังหวะ ดนตรี และการได้ยิน ผู้ที่มีปัญญาทางดนตรีและจังหวะสูง จะแสดงความสามารถในการสัมผัสทางเสียง จังหวะ ระดับเสียง และดนตรีได้ดีกว่าพวกเขามักมีช่วงเสียงที่ดี หรือแม้แต่ช่วงเสียงที่สมบูรณ์ สามารถร้องเพลง เล่นดนตรี และแต่งเพลงได้ เนื่องจากมีองค์ประกอบทางเสียงมาประกอบกับปัญญาด้านนี้ ผู้ที่มีปัญญานี้อาจจะเรียนได้ดีที่สุดผ่านการฟัง นอกจากนี้ยังใช้เพลงหรือจังหวะเพื่อเรียนและจดจำข้อมูลเสมอๆ และอาจทำงานได้ดีที่สุดด้วยการมีดนตรีเป็นพื้นภูมิ    อาชีพที่เหมาะสม คือ นักดนตรี นักร้อง วาทยกร ดีเจ นักสุนทรพจน์ นักแต่งเพลง นักเขียน (เป็นส่วนน้อย) หรือ ผู้แทนจำหน่าย     ตัวอย่างผู้มีชื่อเสียง เช่น โมสาร์ท จูลี่ แอนดรูว์ แอนเดรีย บอชเชลลี่ ลีโอนาร์ด เบิร์นสไตน์
                เมื่อ Dr. Howard Gardner ถูกถามในการสัมภาษณ์ว่าเขาคิดทฤษฎีพหุปัญญาได้อย่างไร เขาตอบว่า “สิ่งสำคัญที่สุดนั้นมาจากการศึกษาสมองที่เสียหายและสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อผู้คนเป็นโรคเส้นโลหิตในสมองแตก บางส่วนของสมองเสียหาย และการบาดเจ็บนั้นสามารถบอกได้ว่าสมองส่วนใดทำหน้าที่อะไร บางคนเสียความสามารถของกล้ามเนื้อแต่ยังพูดได้ บางคนเสียความสามารถทางภาษาแต่ยังร้องเพลงได้ ความเข้าใจนี้ไม่เพียงแต่นำผมมายังการศึกษาเรื่องสมองเท่านั้น ยังเป็นเมล็ดพันธุ์ที่นำไปสู่เรื่องพหุปัญญาในที่สุด ตราบเท่าที่คุณเสียความสามารถไปอย่างหนึ่ง แต่อย่างอื่นยังคงอยู่ คุณไม่สามารถมีเพียงปัญญาเพียงด้านเดียว แต่เราต้องมีพหุปัญญา


D :  การเรียนรู้จากสื่อดิจิทัล  (Digital  Learning)  การเรียนรู้จากสื่อดิจิทัลเป็นการเรียนรู้ผ่านเครือข่าย  เช่น  เครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social  networking)    การแชร์ภาพ  และการใช้อินเทอร์เน็ตแบบเคลื่อนที่ เป็นต้น
I :  การบรูณาการความรู้ (Integrated  knowledge )  การเชื่อมโยงความรู้เกี่ยวกับภายในศาสตร์ต่าง ๆ ของรายวิชาเดียวกันหรือหลากหลายวิชาเพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตจริงได้
E :  การประเมินเพื่อปรับปรุงการสอน  (Evaluation  to  Improve  Teaching)  การประเมินการเรียนรู้ของตนเอง  โดยกำหนดค่าคะแนนจากการวิเคราะห์การประเมินการเรียนรู้ด้านความรู้

S  :   การประเมินอิงมาตรฐาน  (Standard  Based  Assessment)  การประเมินคุณภาพการเรียนรู้อิงมาตรฐาน  โดยใช้แนวคิดพื้นฐานโครงสร้างการสังเกตผลการเรียนรู้

การจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน

The  STUDIES  Model  :  การจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน

บทที่1
The  SYUDIES  Model :  การจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน
                
การจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียนตามรูปแบบ   The  SYUDIES  Model  มีจุดหมาย
สำคัญเพื่อตอบสนองหลักการและเหตุผลสำคัญในการกำหนดแนวทางพัฒนาวิชาชีพครู  ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  พ.ศ. 2542 มาตรฐาน 9(4)  ที่ได้กำหนดบทบัญญัติให้มีหลักการส่งเสริมมาตรฐาน  วิชาชีพครู  คณาจารย์และบุคลกรทางการศึกษา
                รูปแบบ The  SYUDIES  Model  มุ่งพัฒนานักศึกษาวิชาชีพครูให้มีความรู้ ความสามารถ มีคุณลักษณะความเป็นครูตามมาตรฐานวิชาชีพ    ตามคุรุสภาได้ประกาศเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพไว้และสอดคล้องกับแนวความคิดอาจารย์มืออาชีพ  ในการการปรับปรุงศักยภาพการเป็นหลักเรียนของนักศึกษาผ่านกระบวนการเรียนการสอนเป็นหลัก